รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลของการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Effects of Buddhist Group Counseling to Decrease Anger and Aggressive Behaviors of the Mathayomsuksa Three Students at Ratwinit Bangkaeo School in Samut Prakan Province
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ภาวิณี ไขกระโทก |
2. | อาภา จันทรสกุล |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ต่อการลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความโกรธและระดับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ10คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อลดความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว จำนวน12ครั้ง ครั้งละ1ชั่วโมง 30นาที รวมทั้งสิ้น18ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อลกความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว แบบวัดประสบการณ์ความโกรธและการแสดงความโกรธ แบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว แบบบันทึกการเรียนรู้และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแต่ละครั้ง แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มและผู้นำกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Rank Test และ The mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความโกรธและคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 2) นักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 3) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความโกรธและคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความเห็นว่า การเข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ในกลุ่มสมาชิกได้มีโอกาสสำรวจตนเองทั้งด้านความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับความโกรธ ได้แสดงความคิดเห็นระหว่างกลุ่มสมาชิกด้วยกัน และได้ระบายความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจตนเองมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็นำไปสู่การเรียนรู้วิธีการและเทคนิคในการจัดการกับความโกรธและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก้าวร้าวของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)