รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสร้างแบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนเตรียมทหาร
|
ชื่อเรื่องรอง |
The Construction of Reading, Analytical Thing and Communicative Writing Ability Test for Pre-Cadets of Armed Forces Academies Preparatory School
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สุพัตรา สงกลิ่น |
2. | บุญเรียง ขจรศิลป์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | นักเรียนเตรียมทหาร |
2. | การฝึกวิชาทหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดความสามารถในการอ่านวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ สำหรับนักเรียนเตรียมทหาร 2) ศึกษาคุณภาพในเรื่องค่าความยากง่ายอำนาจจำแนก ประสิทธิภาพตัวลวง ความตรงตามเนื้อหา และความเที่ยงของแบบวัด 3) ศึกษาความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ผลการวิจัยสรุปว่า 1) แบบวัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความที่สร้างขึ้น จำนวน 33 ข้อ ประกอยด้วย 3 ตอน ตอนที่1 แบบวัดความสามารถในการอ่าน เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน15ข้อ ตอนที่2 แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน15ข้อและตอนที่3แบบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ เป็นแบบเขียนตอบ จำนวน3ข้อ 2) แบบวัดที่สร้างขึ้นมีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.23-0.76 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.88 และประสิทธิภาพตัวลวงมีค่าตั้งแต่ 0.06 ค่าความเที่ยงของแบบวัดความสามารถในการอ่าน เท่กับ 0.90 แบบวัดความสามรถในการคิดวิเคราะห์เท่ากับ0.85 และแบบวัดความสามารถในการเขียนสื่อความ เท่ากับ 0.96 3) นักเรียนเตรียมทหารมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สูงสุด คือมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 75.67 รองลงมาคือความสารถในการเขียนสื่อความ มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 70.78 และมีความสามารถในการอ่านต่ำสุด คือมีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 60.33
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)