รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศมาตราส่วนใหญ่ (1: 25,000) เพื่อติดตามและประเมินพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยปี 2554
ชื่อเรื่องรอง GIS in large scale (1: 25,000) for monitoring and appraising the three main economic crops in 2011
ชื่อผู้แต่ง
1.เชาวลิต ศิลปทอง
2.อนุสรณ์ รังสิพานิช
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ภูมิสารสนเทศ
2.การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการติดตามและประเมินพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักขอประเทศ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลังและข้าวโพด โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมที่มีการบันทึกแบบหลายช่วงคลื่น(Multispectral) ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2552 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2554 โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม THEOS, Landsat-5, ALOS-AVNIR-2 และ RADARSAT ทำการแปลตีความข้อมูลภาพดาวเทียมโดยใช้เทคนิคการจัดกลุ่มข้อมูลตามองค์ประกอบของวัตถุร่วมกับข้อมูลทางด้านกายภาพของพื้นที่แต่ละภูมิภาค ข้อมูล ด้านฤดูกาลเพาะปลูกของพืชแต่ละชนิด และการสำรวจความถูกต้องในภาคสนาม เพื่อช่วยให้ผลการแปลตีความพืชเศรษฐกิจทั้ง 3 ชนิด มีความถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้นการวิเคราะห์หาพื้นที่พืชเศรษฐกิจแยกตามแนวเขตการปกครอง อาศัยการวิเคราะห์ทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้วยการซ้อนทับ(Overlay) ระหว่างข้อมูลพืชเศรษฐกิจหลักทั้ง 3ชนิด กับขอบเขตการปกครองจากนั้นคำนวณเนื้อที่ของพืชทั้ง 3 ชนิดแยกตามเขตการปกครอง พร้อมกับจัดทำแผนที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทยปี 2554 ภาพรวมระดับประเทศ รายจังหวัดและแผนที่มาตราส่วน(1: 25,000) ผลการแปลตีความพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศพบว่า มีเนื้อที่เพาะปลูกพืชทั้งข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพด รวมทั้งสิ้น 94, 268,083 ไร่ หรือประมาณ 150,828.93 ตารางกิโลเมตร โดยแยกเป็นข้าว 76,577,450 ไร่ มันสำปะหลัง 10,271,215 ไร่และข้าวโพด 7,419,418 ไร่ ระดับภูมิภาค พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาภาคเหนือและน้อยที่สุกภาคใต้ เมื่อแบ่งตามชนิดพืชเศรษฐกิจ พบว่าข้าว และมันสำปะหลังปลูกมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 44,961,771 ไร่และ 4,971,477ไร่ ตามลำดับ และข้าวโพดปลูกมากที่สุดในภาคเหนือ จำนวน 5,306,929 ไร่ ระดับจังหวัด พบว่าจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาอุบลราชธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ และสุรินทร์ตามลำดับ ส่วนจังหวัดสมุทรสงครามีพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจน้อยที่สุด เมื่อแบ่งตามชนิดพืชเศรษฐกิจ พบว่าข้าวและมันสำปะหลังปลูกมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมาจำนวน 4, 303, 237 ไร่และ2, 513,445 ไร่ ตามลำดับและข้าวโพดปลูกมากที่สุดในจังเพชรบูรณ์ จำนวน1, 059,177 ไร่ ระดับอำเภอ พบว่าข้าวปลูกมากที่สุดใน อำเภอเมืองสุรินทร์ จำนวน 489,655 ไร่ มันสำปะหลังปลูกมากที่สุดในอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 333,534 ไร่ และข้าวโพดปลูกมากที่สุดอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน 293,282 ไร่ ผลการตรวจสอบความถูกต้องภาคสนาม(Ground Check) พบว่า ความถูกต้องโดยรวมมีความถูกต้องคิดเป็น 88.95 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ปลูกข้าวมีความถูกต้องคิดเป็น 84.03 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ปลูกข้าวโพดมีความถูกต้องคิดเป็น 67.86เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมีความถูกต้องคิดเป็น 73.08 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่อื่นๆ มีความถูกต้องคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย
ปีที่ 13
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 13 – 22
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน)
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1513-4261
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)