รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประยุกต์ การประเมินความเสี่ยงภัยธรรมชาติกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำในพื้นที่ลุ่มนำบ่อแก้วจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Applied natural disaster risk assessment with watershed classification in Borkaew Watershed Chiang Mai Thailand
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สุระ พัฒนเกียรติ |
2. | กฤษณัยน์ เจริญจิตร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | น้ำ -- การควบคุมคุณภาพ |
2. | น้ำ -- การประเมิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติอันประกอบด้วยภัยแล้งและแผ่นดินถล่ม ดำเนินการโดยใช้แบบจำลองการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่ ซึ่งปัจจัยที่ใช้อ้างองจากการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยในการจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่ม ได้แก่ ปริมาณนำฝนรายวันความลาดชัน ธรณีวิทยา การระบายน้ำของดิน และพืชคลุมดิน ส่วนการจำแนกพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนรายปี จำนวนวันที่ฝนตก พื้นที่ชลประทานความลาดชัน พืชคลุมดิน ขนาดและความหนาแน่นของลุ่มน้ำพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยแลงในพื้นที่ลุ่มน้ำบ่อแก้วอยู่ในระดับเสี่ยงปานกลาง ระดับเสี่ยงมาก และระดับเสี่ยงน้อย คิดเป็นร้อยละ 80.51 , 9.87 และ 9.62 ตามลำดับสำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินถล่มในระดับเสี่ยงปานกลาง ระดับเสี่ยงน้อย และระดับเสี่ยงมาก คิดเป็นร้อยละ 88.82, 8.96 และ2.22 ตามลำดับ ซึ่งพื้นที่เสี่ยงระดับปานกลางและระดับมากส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชันชั้นที่ 1A ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ห้ามมิให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในทุกรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีการใช้ที่ดินในการทำนาข้าวและพืชไร่อยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึง จำเป็นต้องมีการเตือนให้มีการหยุดกิจกรรมดังกล่าวและใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำอย่างเข้มข้นต่อไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)