รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การจดทะเบียนวัตถุอวกาศต่อสำนักงานกิจกาอวกาศส่วนนอกแห่งสหประชาชาติ
|
ชื่อเรื่องรอง |
The implementation on registration of Thai satellite with United Nations Office for Outer Space Affairs (UNOOSA)
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พีร์ ชูศรี |
2. | พรรณทิพา ผลเพิ่ม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การจดทะเบียนดาวเทียม |
2. | ดาวเทียม -- การจดทะเบียน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ขั้นตอนการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ อันสืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยมีดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรก ซึ่งเรียกว่า ดาวเทียมธีออส (Thailand Earth Observation System- THEOS) หรือชื่อพระราชทาน ดาวเทียมไทยโชต (Thai Chote) เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติของสหประชาชาติ ในเรื่องการจดทะเบียนวัตถุอวกาศในการดำเนินกิจกรรม ทางด้านอวกาศนั้น หากมรการส่งวัตถุอวกาศเข้าสู่ห้วงอวกาศ ควรมีการจดทะเบียนวัตถุอวกาศกับสหประชาชาติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการจดทะเบียนวัตถุอวกาศ ค.ศ. 1751 (“Registration Convention”) เนื่องด้วยประเทศภาคีสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว จึงไม่อาจดำเนินการตามที่กำหนดในอนุสัญญาได้ อย่างไรก็ตาม สหประชาชาติได้เสนอวิธีปฏิบัติให้กับประเทศที่ไม่ได้เป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาฉบับดังกล่าว สามารถจดทะเบียนวัตถุอวกาศต่อสหประชาชาติได้โดยความสมัครใจตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่ 1721 B(XVI)2 ซึ่งเป็นการวางระบบทะเบียนวัตถุที่มีขึ้นก่อนที่อนุสัญญาดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับทางกฎหมาย ดังนั้น กรณีของ “ดาวเทียมธีออสหรือดาวเทียมไทยโชต” ประเทศไทยจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนวัตถุอวกาศโดยความสมัครใจตามข้อมติ 1721 (XVI) B ของสหประชาชาติในรูปแบบ Note Verbal
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)