รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง รูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ
ชื่อเรื่องรอง The models of performance-based budgeting in public basic education schools
ชื่อผู้แต่ง
1.สุริสา บุญโชติหิรัญ
2.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- ไทย -- งบประมาณ
2.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างรูปแบบงบประมาณมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบรูปแบบ 2) สร้างรูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานที่นำไปใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi Technicque) 3) ตรวจสอบรูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานที่นำไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยเชิญผู้ปฏิบัติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานของรัฐ โดยเชิญผู้ปฏิบัติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานของรัฐมาร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐประกอบด้วย 4 ขั้นตอน รวม 8 ด้าน คือ 1. การวางแผนและจัดทำงบประมาณ ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนงบประมาณ โดยคณะกรรมการวางแผนพัฒนาจัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดทำแผนงบประมาณล่วงหน้าระยะปานกลาง 3 ปี แผนปฏิบัติการประจำปี โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม การควบคุม ติดตามและประเมินผล จัดทำเป็นรายงานสรุปและนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำเป็นรายงานสรุปและนำผลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนกลยุทธ์ต่อไป 2) ด้านการคำนวณต้นทุนกิจกรรม เก็บข้อมูลจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเิงินภาครัฐ (GFMIS) ครอบคลุมเงินในและนอกงบประมาณโดยจำแนกเป็น 5 งบรายการ คือ งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบเงินอุดหนุน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่นๆ 2. ด้านการอนุมัติงบประมาณ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยี กำหนดเกณฑ์ในการอนุมัติงบประมาณที่มีความชัดเจน การอนุมัติงบประมาณคำนึงถึงผลลัพธ์ ผลผลิต การควบคุม กำกับ ติดตามผลการอนุมัติงบประมาณ โดยคณะกรรมการและนำการรายงานผลปีที่ผ่านมาประกอบการพิจารณาอนุมัติงบประมาณ 3. การบริหารงบประมาณ ประกอบด้วย 1) ด้านการบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง ดำเนินการตามขั้นตอนโปร่งใส ตรวจสอบได้ ติดตามและประเมินผลการจัดซื้อจัดจ้างและการจัดทำรายงานผลการดำเนินการ 2) ด้านการบริหารการเงินและควบคุมงบประมาณโดยการกำหนดนโยบายการเงินและควบคุมงบประมาณสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มีการจัดทำบัญชีต้นทุนตามกิจกรรม (Activity-Based Costing) 3) ด้านการบริหารสินทรัพย์โดยคณะกรรมกาารบริหารสินทรัพย์ที่เน้นการมีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ในการบริหารสินทรัพย์ 4. การติดตามประเมินผลงบประมาณ ประกอบด้วย 1) ด้านการรายงานการเงินและผลการดำเนินงาน โดยการจัดทำรายงานการเงินและงบดุลและงบรายรับรายจ่ายทุกเดือน งบดุล งบกำไรขาดทุน ทุกไตรมาส กระประเมินผลก่อนเริ่ม ขณะดำเนินการ หลักดำเนินการ 2) ด้านการตรวจสอบภายใน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการที่เน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมีการกำหนดเกณฑ์ในการตรวจสอบภายในที่ชัดเจน การปฏิบัติเชิงเปรียบเทียบกับองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ประเมินผล โดย พิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน (Performance Audit) มีการรายงานผลการตรวจสอบภายในต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 2
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 69 - 82
ปีพิมพ์ 2551
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)