รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความทันต่อเวลาของข้อมูลบัญชีแบบมีเงื่อนไข
ชื่อเรื่องรอง Conditional earnings timeliness
ชื่อผู้แต่ง
1.ประวัฒน์ เบญญาศรีสวัสดิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบัญชี
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ความทันต่อเวลาเป็นคุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งของข้อมูลบัญชีที่แสดงให้เห็นว่ากิจการมีการบันทึกเหตุการณ์ทางการเงินในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลบัญชีสามารถนำข้อมูลที่ทันต่อเวลาไปใช้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความทันต่อเวลาของข้อมูลบัญชีแบ่งเป็นสองลักษณะคือ ความทันต่อเวลาแบบไม่มีเงื่อนไข และความทันต่อเวลาแบบมีเงื่อนไข ความทันต่อเวลาแบบไม่มีเงื่อนไข คือ การรับรู้รายการตามรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดขึ้น ในขณะที่ความทันต่อเวลาแบบมีเงื่อนไข จะแยกการรับรู้รายการประเภทกำไร (รายได้) และขาดทุน (ค่าใช้จ่าย) ออกจากกัน โดยทั่วไปการรับรู้รายการกำไรและขาดทุน จะต้องเข้าเงื่อนไขที่ระบุ ดังนั้น ความทันต่อเวลาแบบมีเงื่อนไขเป็นการศึกษาว่ากิจการรับรู้รายการขาดทุนทันทีในรอบระยะเวลาบัญชีที่กิจการคาดว่าจะเกิดผลขาดทุนนั้นหรือไม่ บทความนี้ขอนำเสนอแบบจำลองทางสถิติที่นำมาใช้วัดความทันต่อเวลาของข้อมุลบัญชีแบบมีเงื่อนไข
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนักบริหาร
ปีที่ 31
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 25-28
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-4960
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)