รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ : KPI ที่บ่งชี้ผลงานได้อย่างเหมาะสม
|
ชื่อเรื่องรอง |
Economic Value Added: EVATM : EVA tm: A suitable KPI
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | มูลค่า (เศรษฐศาสตร์) |
2. | มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ |
3. | มูลค่าเพิ่ม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในการวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานมีตัวชี้วัด(KPI) ตัวหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับนำมาใช้กัน คือ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added : EVA)ซึ่งแสดงถึงกำไรทางเศรษฐศาสตร์ที่องค์กรได้รับเปรียบเทียบกับต้นทุนของเงินทุนที่ใช้ไป EVA เกิดจากแนวคิดว่านอกเหนือกำไรแล้วองค์กรควรให้ความสำคัญต่อการสร้างมูลค่าที่สูงขึ้นให้แก่ผู้ร่วมเป็นเจ้าของเงินทุนอีกด้วย EVA ถือเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้ผู้บริหารตระหนักถึงการบริหารจัดการเงินทุนที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด และกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลัง เกิดการปรับปรุงพัฒนาการเพื่อให้ทรัพยากรที่ใช้ไปสามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่องค์กรอย่างมากที่สุด หลักการคำนวณ EVA จะแตกต่างจากการคำนวณกำไรขาดทุนทางการบัญชีคือ 1) การบัญชีจะถือว่าต้นทุนของเงินทุนมาจากต้นทุนของหนี้สินทั้งหมดไม่คำนึงถึงต้นทุนของเงินที่มาจากการลงทุนของเจ้าของ แต่ EVA จะถือว่าองค์กรมีภาระต้นทุนของเงินทุนที่มาจากทั้งต้นทุนของหนี้สิน และจากต้นทุนส่วนของเจ้าของอีกด้วยและ 2) ในการคำนวณกำไรทางเศรษฐศาสตร์ จะต้องมีการปรับปรุงรายการบัญชีให้สะท้อนถึงมูลค่าที่ใกล้เคียงเงินสด รวมถึงรับรู้ต้นทุนแหล่งของเงินที่มิได้อยู่ในรายงานทางการบัญชี การคำนวณ EVA เป็นดังนี้ EVA =กำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี(Net Operating Profit After Tax:NOPAT)-ต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินทุนที่ใช้ไป (WACC x IC) การวิเคราะห์ค่าของ EVA ซึ่งมีค่า ดังนี้ 1) ถ้า EVA =0 แสดงว่าการดำเนินงานก่อให้เกิดกำไรทางเศรษฐศาสตร์เพียงเท่ากับต้นทุนของเงินทุน 2) ถ้า EVA<0 แสดงว่าการดำเนินงานก่อให้เกิดกำไรทางเศรษฐศาสตร์ต่ำกว่าต้นทุนของเงินทุน ซึ่งแสดงถึงมูลค่าที่ถดถอยขององค์กร และ3) ถ้า EVA >0 แสดงว่าการดำเนินงานก่อให้เกิดกำไรทางเศรษฐศาสตร์สูงกว่าต้นทุนของเงินทุน ซึ่งหมายถึงมูลค่าที่เพิ่มขององค์กร ดังนั้น หากองค์กรใดมีค่า EVA >0 องค์กรนั้นจะสามารถเติบโตยิ่งขึ้นไป แต่หาก EVA=0 องค์กรนั้นเพียงแต่ดำลงอยู่ได้แต่ไม่เติบโตขึ้น หรือในกรณี EVA <0 องค์กรนั้นจะประสบความล้มเหลวซึ่งต้องปรับปรุงบริหารจัดการเพื่อแก้ไขวิกฤตที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรอย่างเร่งด่วน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)