รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง พหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนของโรงเรียนต้นแบบวิถีพุทธสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง The multi-level factors affecting success in developing students' ethics of prototype buddhist schools under The Office of Basic Education Commission
ชื่อผู้แต่ง
1.นพรัตน์ ชัยเรือง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.นักเรียน -- จริยธรรม
2.จริยศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนค้นหาปัจจัยระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน ของโรงเรียนต้นแบบวิถีพุืทธ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ 3 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน ระดับห้องเรียน และระดับโรงเรียน โดยมีความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมเป็นตัวแปรตาม ในระดับนักเรียน ประกอบด้วย พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน ระดับห้องเรียนประกอบด้วย ความพึงพอใจของครูในการพัฒนาจริธรรมนักเรียน และระดับโรงเรียนประกอบด้วย ความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนาจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย นักเรียน 1,040 คน ครู 208 คน และ ผู้บริหารโรงเรียน 52 คน รวมทั้งสิ้น 1,300 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบวัดรวม 3 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลในการหาค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS for the windows และ วิเคราะห์พหุระดับของการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสำเร็จในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน ของโรงเรียนต้นแบบวิถีพุืืทธ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2. ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่าพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากลักษณะมุ่งอนาคตและการควบคุมตนเองมากที่สุด รองลงมาคือ การอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครองนักเรียน การสนับสนุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเชิงบวก เพศหญิงมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน ส่วนสถานภาพทางครอบครัวของบิดามารดานักเรียนรายได้ของผู้ปกครองนักเรียน และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน 3. ปัจจัยระดับห้องเรียน พบว่าความพึงพอใจ ของครูในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียนได้รับอิทธิพลเชิงบวกจากตัวแปรปัจจัยคุณภาพการสอนของครูมากที่สุด รองลงมาคือ การสนับสนุนทางสังคมของครู ส่วนตัวแปรอื่นๆ เช่น อายุของครู ความพึงพอใจของครูต่อการปฏิบัติงาน และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของครูมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกทั้งสิ้น ขณะที่ระดับการศึกษา ประสบการณ์ ของครู กิจกรรมและบรรยากาศกระบวนการพัฒนาจริยธรรมไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อความพึงพอใจ ของครูในการพัฒนาจริยธรรมนักเรียน 4. ปัจจัยระดับโรงเรียน พบว่า ความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนาจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกจากตัวแปรปัจจัยเดียว คือ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหาร ขณะที่ตัวแปรวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก ส่วนวัฒนธรรมโรงเรียน บรรยากาศโรงเรียน นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจริยธรรม ไม่มีอิทธิพลใดๆ ต่อความสามารถของผู้บริหารในการพัฒนาจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 2
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 67 - 80
ปีพิมพ์ 2551
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)