รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
ชื่อเรื่องรอง |
Multi-level factors affecting the success of implementation of decentralization policy on basic education school under The Office of Basic Education Commission
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พรสวัสดิ์ ศิรศาตนันท์ |
2. | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม |
3. | เสรี ชัดแ้ช้ม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โรงเีรียน -- การบริหาร |
2. | สถานศึกษา -- การบริหาร |
3. | การบริหารแบบมีส่วนร่วม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจประเภทที่หนึ่งผู้บริหารและศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 885 คน ตัวแปรระดับสถานศึกษา จำนวน 6 ตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรป้อนเข้า ได้แก่ ภาวะผู้นำ ของผู้บริหาร สมรรถนะของสถานศึกษา การยอมรับของบุคลากร กลุ่มตัวแปรกระบวนการ ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจในการบริหารและกลุ่มตัวแปรผลผลิต เป็นตัวแปรตามคือ ความสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติ ตัวแปรระดับเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 7 ตัวแปร คือ กลุ่มตัวแปรป้อนเข้า ได้แก่ ลักษณะของนโยบายมาตรฐานนโยบาย ทรัพยากรนโยบาย กลุ่มตัวแปรกระบวนการ ได้แก่ ความสัมพันธ์ขององค์กร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การกำกับติดตามประเมินผล กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษา
ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลพัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจากค่า X กำลัง 2 เท่ากับ 32.52 ที่ df เท่ากับ 59 ค่า p เท่ากับ 1 ค่า GFI เท่ากับ 1 ค่า RMSEA เท่ากับ .00 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 86 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสำเร็จในการนำนโยบายการกระจายอำนาจไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การกระจายอำนาจในการบริหาร ส่วนตัวแปรที่ีมีอิทธิพลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สมรรถนะของสถานศึกษา การยอมรับของบุคลากร และการบริหารแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างระดับปรากฏว่า กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษาส่วผลต่อกลุ่มตัวแปรป้อนเข้า กลุ่มตัวแปรกระบวนการ และกลุ่มตัวแปรผลผลิตระดับสถานศึกษา การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างระดับ ปรากฏว่า กลุ่มตัวแปรผลผลิต คือ ความเข้มแข็งของเขตพื้นที่การศึกษาส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วม และการกระจายอำนาจในการบริหาร ระดับสถานศึกษา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)