รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานสำหรับผู้ประกอบการผลไม้ไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Logistics and supply chain management for entrepreneurs of Thai Fresh Fruits
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | Niwat Sermsai |
2. | Tanakit Vongmahasetha |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ผลไม้สดจัดได้ว่าเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย การจัดการทางโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับการช่วยให้สินค้าที่ออกจากมือผู้ผลิตจนไปถึงมือผู้บริโภคอยู่ในสภาพที่เหมาะสม
ผลไม้ไทยจัดได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่สามารถเพาะปลูกหรือทำการเพาะปลูกได้ยากมากในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจของผลไม้ไทยที่มีเหนือต่างชาติ การแพร่หลายของผลไม้ไทยไม่ใช่แค่เพียงเฉพาะผู้บริโภคภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมโดยผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และห่วงโซ่อุปทานคือคือเครื่องมือสำคัญในการผลักดันให้ผลไม้ไทยมีชื่อเสียงในระดับโลก ทั้งนี้การขนส่งและเทคโนโลยีการถนอมรักษาคุณภาพของผลไม้ที่เจริญก้าวหน้ามีส่วนช่วยทำให้ชาวต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสลิ้มรสชาติขอผลไม้ไทยได้ใกล้เคียงกับรสชาติของผลไม้สดที่เพิ่งถูกเก็บออกมาจากสวนของเกษตรกร
รูปแบบการขนส่งมี 3 รูปแบบหลักที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย คือ การขนส่งทางรถบรรทุก การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็มีบทบาทที่สำคัญในระบบโลจิสติกส์ของไทยที่แตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปในทุกๆ ห่วงโซ่อุปทาน การขนส่งผ่านทางรถบรรทุกเป็นส่วนหนึ่งในการขนส่งด้วยเสมอ โดยเฉพาะกรณีของการขนส่งภายในประเทศจะเห็นได้ว่าการขนส่งชนิดนี้เป็นรูปแบบหลักที่มีความสำคัญอย่างสูง ขณะที่การขนส่งทางน้ำจะมีความสำคัญสูงมากกับการขนส่งระหว่างประเทศใกล้เคียงร่วมกับการขนส่งทางรถบรรทุก ส่วนการขนส่งทางอากาศจะมีบทบาทสำคัญสำหรับการขนส่งสินค้าในระยะทางที่ไกลมากๆ หรือกับสินค้าที่มีมูลค่าสูง ซึ่งการขนส่งทางน้ำไม่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในทุกที่ แต่ความเป็นจริงก็คือประสิทธิภาพของโลจิสติกส์รวมทั้งโซ่อุปทานของธุรกิจผลไม้ไทยก็ยังคงพัฒนาได้ไม่ถึงขีดสุดความสามารถที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่สามารถปรับปรุงได้ ซึ่งปัญหานั้นไม่ได้อยู่เพียงแค่ในกรอบของโลจิสติกส์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงในระดับโซ่อุปทานอีกด้วย ดังนั้นการจะทำให้ผลไม้ไทยได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น การจัดการทั้งทางด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานล้วนแล้วแต่มีความสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ แต่งทั้งนี้ ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาในจุดใดๆ ความเข้าใจในระบบโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการรับทราบถึงปัญหา ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)