รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง An analysis of facilitating factors and restraining factors towards implementation for basic educational policy in schools under The Office of the Basic Education Commission
ชื่อผู้แต่ง
1.ลมัยพร แหล่งหล้า
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหาร
2.โรงเรียน -- การบริหาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการโดยมุ่งศึกษาสภาพการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษา ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติในสถานศึกษา ซึ่งดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพได้ศึกษาจากกรณีศึกษา 3 โรงเรียน ซึ่งเป็นตัวแทนของโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ แล้วนำผลการวิจัยที่ได้ทั้ง 2 ส่วนมาสังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษา ข้อค้นพบเชิงปริมาณ พบว่า โรงเรียนทั้ง 3 ขนาด ส่วนใหญ่มีการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติครบทุกนโยบาย แต่ในโรงเรียนขนาดเล็กไม่สามารถนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติได้ครบทุกด้านมากที่สุด และนโยบายที่มีการดำเนินการน้อยที่สุด คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับเด็กพิเศษ ในข้อค้นพบเชิงคุณภาพพบว่า โรงเรียนทุกขนาดมีการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ แต่ไม่ครบทุกด้านขึ้นอยู่กับความพร้อมและบริบทแวดล้อมของสถานศึกษานั้น 2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ ในกลุ่มปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ประกอบด้วยผู้บริหารมีเจตคติที่ดี มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเข้าใจในเป้าหมาย ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการตามนโยบายการศึกาา ขั้นพื้นฐาน และให้การสนับสนุนบุคลากรให้ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพในกลุ่มปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม ประกอบด้วยผู้ปกครอง และชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินการในด้านต่างๆ ของโรงเรียน และผู้ปกครองมีเจตคติที่ดีต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในโรงเรียน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี คือ การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารทำให้การนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในโรงเรียนมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยด้านการเมือง ประกอบด้วย รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดให้โรงเรียนต้องนำนโยบายมาปฏิบัติอย่างชัดเจนกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายและมีการสนับสนุนที่ชัดเจนและจริงจังในการจัดให้มีการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในโรงเรียน 3. ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในกลุ่มปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยด้านงบประมาณ คือ โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา งบประมาณสำหรับการดำเนินงานด้านวิชาการตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ โรงเรียนมีครูอาจารย์ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการต่างๆ ปัจจัยด้านวัสดุ คือ โรงเรียนมีวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร คือ การดำเนินงานต่างๆ ไม่สนับสนุนการทำงานเป็นทีมและขาดการร่วมคิดร่วมทำ ในกลุ่มปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง เช่น นโยบายการปรับลดอัตรากำลังของภาครัฐ ส่งผลให้ครูไม่เพียงพอที่จะจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยผู้ปกครองและชุมชนมีฐานะไม่ดี เป็นอุปสรรคต่อการให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษากับโรงเีรียน ภาวะเศรษฐกิจของชุมชนตกต่ำ ไม่สามารถให้การสนับสนุนด้านงบประมาณแก่โรงเรียนได้ และรัฐไม่สามารถจัดสรรงบประมาณที่ตอบสนองความต้องการของโรงเรียน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการบริหารการศึกษา
ปีที่ 3
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 73 - 87
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ศูนย์วัตกรรมบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0017
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)