รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ความแตกต่างแห่งสุนทรีย์: สถานการณ์ปัจจุบันของละครเวทีไทยร่วมสมัย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Difference of aesthetics: the current situation of Thai contemporary theatre
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ละครเวทีไทยร่วมสมัยได้ก่อร่างสร้างตัวและพัฒนารูปแบบมาเป็นเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ กระนั้นก็ตามสำหรับผู้ชมชาวไทย ศิลปะ การแสดงชนิดนี้ดูเสมือนจะ “ ยาก ” “ เครียด ” “ เป็นของฝรั่ง ” และ “ ไม่เข้าพวก ” ทำให้ทุกวันนี้ละครเวทียังไม่สามารถเป็นการแสดงของมวลชนชาวไทยได้อย่างแท้จริง แม้มีความพยายามอย่างมากมายทั้งจากภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน บทความวิชาการชิ้นนี้จึงต้องการที่จะค้นคว้า และหาวิธีการที่จะทำให้การแสดงชนิดนี้มีจุดยืนที่มั่นคง ยั่งยืน และตอบสนองความบันเทิงของชาวไทยได้อย่างสมบูรณ์ กระบวนการในการค้นคว้าดังกล่าว จึงเริ่มต้นจากการเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างสุนทรีย์ศิลปะการแสดงของชาวไทยดั้งเดิมซึ่งคือสุนทรีย์ของผู้ชมหรือผู้เสพกับสุนทรีย์ของการละครตะวันตกอันเป็นรากเหง้าทางความคิดและเป็นต้นกำเนิดของละครเวทีร่วมสมัยของผู้สร้าง ในท้ายที่สุดบทความวิชาการชิ้นนี้พยายามที่จะเสนอทางออกซึ่งความแตกต่างแห่งสุนทรีย์ ด้วยการเรียกร้องให้ชนชั้นกลางผู้สร้างงานละครเวทีหันมาทำความเข้าใจรากเหง้าทางวัฒนธรรมและสุนทรีย์ไทยชาวบ้าน ซึ่งอาจเป็นคำตอบในการสร้างละครเวทีไทยให้มีจุดยืนในสังคมไทยได้อย่างแท้จริง ดังที่หมอลำ ลิเก และหนังตะลุงเคยทำสำเร็จในอดีต
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)