รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
สถานการณ์ความยากจนและความเหลี่ยมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Situation regarding poverty and income inequality in Thailand
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | ความเหลี่ยมล้ำทางรายได้ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ไทย -- ภาวะสังคม |
2. | ความจน -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความเรื่องนี้นำเสนอสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย เพื่อสะท้อนระดับของปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการลดความยากจนในระดับประเทศ โดยทำให้สัดส่วนคนจนของประเทศลดลงเหลือเพียงร้อยละ 8 ของประชากรทั้งหมดของประเทศในปี พ.ศ. 2552 อย่างไรก็ตาม พบว่ายังคงมีประเด็นท้าทายในระดับภูมิภาค นั่นคือการลดความยากจนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งยังมีสัดส่วนคนจนในระดับที่ค่อนข้างสูง คือเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดในภูมิภาคทั้งสอง นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระดับที่ค่อนข้างสูง ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะมีรายได้ประชาชาติมวลรวมต่อบุคคลในระดับที่สูงขึ้น แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นกลับไม่ได้ถูกจัดสรรให้แก่ประชากรทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ แนวทางหลักในการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้อยู่ที่การเพิ่มโอกาสและศักยภาพของคนจน ตลอดจนการส่งเสริมนโยบายและระบบบริหารจัดการภาครัฐที่เหมาะสม
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)