รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
|
ชื่อเรื่องรอง |
Factors influencing the strengths of network party of schools under the office of the non-formal and informal education
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เครือข่ายการเรียนรู้ -- แบบจำลอง |
2. | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
3. | การศึกษาตามอัธยาศัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความกลมกลืนของแบบจำลองเชิงทฤษฎีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารภาคีเครือข่ายในเขตกรุงเทพฯมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร นครปฐมและนครนายก กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 76 คน และจากผู้บริหารภาคีเครือข่าย จำนวน 285 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน ขั้นตอนการพัฒนาแบบจำลองเชิงทฤษฎี ประกอบด้วยการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาองค์ประกอบของความเข้มแข็ง และปัจจัยที่ส่งผลทางตรงและทางอ้อมต่อความเ้ข้มแข็งของภาคีเครือข่ายเขียนร่างแบบจำลองเชิงทฤษฎี และจัดสนทนากลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาคีเครือข่ายรวม 12 ท่าน วิพากษ์ร่างแบบจำลองเชิงทฤษฎี กรอบแนวคิด ตัวแปรที่ในการวิจัยและนิยามศัพท์ปรับร่างแบบจำลองเิชิงทฤษฎีโดยใช้สารสนเทศที่ได้จากการสนทนากลุ่มย่อย ได้แบบจำลองเชิงทฤษฎีที่พัฒนาขึ้นเพื่อตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ต่อไป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ คือ ฉบับผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และฉบับผู้บริหารภาคีเครือข่าย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบจำลองเชิงทฤษฏีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการพัฒนาแบบจำลองเชิงทฤษฎีพบว่า ตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่าย มี 8 ปัจจัย ประกอบด้วย การพึ่งตนเองได้และการพัฒนาศักยภาพของตนเองได้เป็นไปตามสมมติฐานการวิัจัยข้อที่ 2
2. ผลการวิเคราะห์แบบจำลองเชิงทฤษฎีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาีคีเครือข่ายของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.พบว่า มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 โดยตัวแปรปัจจัยทั้ง 8 ปัจจัย และตัวแปรองค์ประกอบ ทั้ง 2 ด้าน มีค่าเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีข้อค้นพบ ดังนี้
2.1) ตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายมี 6 ปัจจัยเรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปน้อยประกอบด้วย การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ การสื่อสาร ภาวะผู้นำ และการสนับสนุนทรัพยากร
2.2) ตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายที่ส่งผ่านปัจจัยด้ายการเรียนรู้ มี 3 ปัจจัย เรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปน้อย ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การสื่อสาร และความต่อเนื่องของกิจกรรม
2.3) ตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายที่ส่งผ่านปัจจัยด้านการบริหารจัดการมี 2 ปัจจัย เรียงลำดับค่าอิทธิพลจากมากไปน้อย ประกอบด้วย ผลประโยชน์ร่วมกัน และการมีส่วนร่วม
2.4) ตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายที่ส่งผ่านปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม มี 1 ปัจจัย คือ ผลประโยชน์ร่วมกัน
2.5) ตัวแปรปัจจัยทีี่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายที่ส่งผ่านปัจจัยด้านความต่อเนื่องของกิจกรรมมี 2 ปัจจัย เรียงลำดับค่าอิืทธิพลจากมากไปน้อยประกอบด้วย การสนับสนุนทรัพยากร และการสื่อสาร
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)