รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การรับรู้และการยอมรับของผู้บริโภคในการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในการจำหน่ายสินค้าประเภทเนื้อสัตว์
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ธีรธรรม เปี่ยมคุณธรรม
2.กุณฑลี รื่นรมย์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.พฤติกรรมผู้บริโภค -- การสํารวจ
2.เนื้อสัตว์ -- แง่โภชนาการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการรับรู้การยอมรับของผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Tracebility system) สินค้าประเภทเนื้อสัตว์ในประเทศไทย โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 500 คนในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนกลับมีความสัมพันธ์กับระดับความถี่ในการซื้อเนื้อสัตว์จากซุปเปอร์มาร์เก็ต นอกจากนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นว่าระบบการตรวจสอบย้อนกลับช่วยให้สามารถเลือกซื้อเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น และมีความเห็นว่าควรซื้อเนื้อสัตว์ที่มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับมากว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่มีระบบการตรวจสอบ ผลจากการวิจัยช่วยให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถตัดสินใจนำระบบการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้ในธุรกิจ เพื่อเพิ่มคุณภาพและความปลอดภัยในการบริโภคเนื้อสัตว์ของผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 32
ฉบับที่ 123
หน้าที่ 73 - 107
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)