รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสำรวจการใช้เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ของธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
The survey on the usage of modern organizational development tools and techniques in organizations registered in stock exchange of Thailand
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | กรกนก ทิพรส |
2. | โชคชัย สุเวชวัฒนกูล |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การพัฒนาองค์การ |
2. | บริษัทจดทะเบียน -- การจัดการ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ของธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคต และเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในการนำแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning organization) เ้ข้ามาใช้ในองค์กร โดยทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 ธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า
1. เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรและเทคนิคสมัยใหม่ที่ยังมีการใช้ในปัจจุบันสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ Training (การฝึกอบรม) คิดเป็นร้อยละ 100 Job desription (การจัดทำคำบรรยายลักษณะงาน) คิดเป็นร้อยละ 94.9 Procedure manuals (การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน) คิดเป็นร้อยละ 85.2
2. เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ที่ธุรกิจมีแผนจะนำมาใช้ในอนาคตสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ Learning organization (องค์กรแห่งการเรียนรู้) คิดเป็นร้อยละ 61.4 Knowledge management (การจัดการความรู้) คิดเป็นร้อยละ 46.6 และ Career planning development (การวางแผนและการพัฒนาสายอาชีพ) คิดเป็นร้อยละ 44.9
3. เครื่องมือและเทคนิคการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ที่ธุรกิจไม่เคยใช้และไม่มีแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคตสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ Six sigma คิดเป็นร้อยละ 59.7 Sensitivity training of T-group (การฝึกอบรมเพื่อการรับรู้) ร้อยละ 43.2 และ Reengineering (การปรับรื้อระบบองค์กร) คิดเป็นร้อยละ 41.5
4. แนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวคิดมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ แนวคิด The fifth decripline ของ Senge คิดเป็นร้อยละ 50 The learning company ของ Pedler และคณะ คิดเป็นร้อยละ 12 และแนวคิด Learning organization ของ Swieringa & Wierdsma คิดเป็นร้อยละ 10
5. ปัญหาที่พบในกระบวนการสำคัญของการนำแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้มากที่สุด 2 อันดับ ได้แก่ กระบวนการที 1 คือ Knowledge acquistion (การแสวงหาความรู้) คิดเป็นร้อยละ 41 และกระบวนการที่ 2 การแบ่งปันความรู้ คือ Knowledge sharing (การแบ่งปันความรู้) คิดเป็นร้อยละ 40
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)