รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Deposit insurance design: review of theory and evidence
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การคุ้มครองเงินฝาก |
2. | ระบบคุ้มครองเงินฝาก |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การประกันเงินฝาก -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
2. | เงินฝากธนาคาร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความวิชาการชิ้นนี้ประมวลทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของระบบคุ้มครองเงินฝากในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งงานวิจัยที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่ชี้ให้เห็นว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการระบบคุ้มครองเงินฝากจะถูกบั่นทอน ถ้าไม่มีการวางรูปแบบระบบคุ้มครองเงินฝากที่เหมาะสมควบคู่ไปกับการกำกับดูแลที่ดีโดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อลดผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจากระบบคุ้มครองเงินฝาก
จากการศึกษาระบบคุ้มครองเงินฝากของไทยตาม พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ปี พ.ศ. 2551 พบว่า ระบบคุ้มครองเงินฝากของไทยมีจำนวนเงินคุ้มครอง (Coverage limit) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงเมื่อเทียบกันนานาประเทส โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงและรายได้ระดับกลางค่อนข้างสูง นอกจากนั้นผู้ฝากสามารถเพิ่มจำนวนความคุ้มครองได้อีกหลายเท่าตัวโดยการฝากเงินไว้กับธนาคารหลายๆ แห่ง ซึ่งการคุ้มครองเงินฝากในระดับสูงจะก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบธนาคารมากว่าประโยชน์ที่จะได้รับ ดังนั้นในระยะยาว ผู้วางนโยบายควรลดจำนวนเงินคุ้มครองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและควรเปลี่ยนระบบการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนให้แปรผันตามความเสี่ยงของสถาบันการเงิน (Risk-adjusted premium system) และเพิ่มระบบการประกันร่วม (Co-insurance system) เข้ามาด้วย เพื่อควบคุมผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการมีระบบคุ้มครองเงินฝาก
ส่วนผลกระทบของระบบคุ้มครองเงินฝากที่อาจมีต่อระบบธนาคารพาณิชย์และตลาดการเงิน ในระยะสั้นคาดว่ามีผลกระทบค่อนข้างน้อย แต่ในระยะยาวคาดว่าระบบคุ้มครองเงินฝากจะมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนของธนาคารและความสามารถในการแข่งขันของธนาคารซึ่งธนาคารที่มีการบริหารความเสี่ยงที่ดี จะมีความสามารถในการแข่งขันที่สูงกว่าและมีต้นทุนที่เกี่ยวเนื่องที่ต่ำกว่า ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์พยายามที่จะบริหารความเสี่ยงของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)