รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
The relation between accounting conservetism and bondholder-shareholder conflicts over dividend policy in the emerging markets: the evidence of Thailand
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | Praparat Tangpanyatorn |
2. | Pimpana Peetathawatchai |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบัญชีต้นทุน |
2. | การบัญชี |
3. | ผู้ถือหุ้น -- การบริหาร |
4. | ความขัดแย้ง (จิตวิทยา) -- การจัดการ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ในการทดสอบบทบาทของความระมัดระวังทางบัญชีว่ามีความสำคัญในการช่วยลดความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ถือหุ้นทุนเกี่ยวกับนโยบายการจ่ายเงินปันผลซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุนการกู้ยืมของกิจการในประเทศเศรษฐกิจใหม่ (emerging markets) เช่น ตลาดในประเทศไทยนั้น ผลการศึกษาไม่ได้แสดงหลักฐานอย่างชัดเจนที่สนับสนุนว่าความระมัดระวังทางบัญชีได้ช่วยลดความขัดแย้งดังกล่าวโดยมีเพียงตัวแปรที่ใช้วัดความระมัดระวังในมุมมองของตลาดเพียงตัวเดียวที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่ใช้วัดความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ถือหุ้นทุนดังกล่าว (ซึ่งวัดด้วย อัตราส่วนเงินปันผลต่อสินทรัพย์รวม) ผลการศึกษาในงานวิจัยนี้ขัดแย้งกับผลการศึกษาของ Ahmed et al. (2002) โดยผลจากการศึกษานี้แสดงว่าการที่กิจการมีความระมัดระวังทางบัญชีมากขึ้นไม่ได้มีผลทำให้กิจการได้รับการจัดอันดับหนี้ที่ดีขึ้น ซึ่งการจัดอันดับหนี้นั้นเป็นตัวแปรที่ใช้วัดต้นทุนการกู้ยืมของกิจการ ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ขัดแย้งกับผลจากงานวิจัยที่ทำกับข้อมูลของตลาดที่พัฒนาแล้ว เช่น ตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผลการศึกษาในงานวิจัยนี้แสดงว่าความระมัดระวังทางบัฐชีไม่ได้มีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพของสัญญาการกู้ยืมเงินในประเทศเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่กิจการที่มีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเศรษฐกิจใหม่ต้องการเพิ่มมูลค่าของกิจการโดยเพิ่มกำไรมากกว่าจากการวัดความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นกู้กับผู้ถือหุ้นทุน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)