รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Cost efficiency of Asian Bank during the post-crisis era: a comparison of frontier techniques
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ธนาคารและการธนาคาร |
2. | วิกฤตการณ์ทางการเงิน |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
บทความนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพด้านต้นทุนของธนาคารในเอเชีย และความสัมพันธ์ของรูปแบบขององค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพด้านต้นทุนของธนาคารในช่วงเวลาภายหลังวิกฤตการณ์ทางการธนาคาร โดยได้ทำการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง 2551 การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการเปรียบเทียบการประมาณค่าประสิทธิภาพด้านต้นทุนของธนาคารโดยใช้เครื่องมือเส้นพรมแดนประสิทธิภาพ 2 ชนิดเรียกว่า Data envelopment analysis และ Stochastic frontier analysis วิธีการศึกษาเิริ่มต้นจากการสร้างเส้นพรมแดนประสิทธิภาพด้านต้นทุนของธนาคารใน 5 ประเทศ ตลอดระยะเวลา 12 ปี จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านต้นทุนของธนาคารต่างๆ กับธนาคารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และทำการทดสอบความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพสูงสุด และทำการทดสอบความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพกับรูปแบบขององค์กร ผลการศึกษาพบว่าแม้ว่าเครื่องมือทั้งสองชนิดให้ผลการประมาณการประสิทธิภาพแตกต่างกัน แต่ผลจากเครื่องมือทั้งสองให้ความเชื่อมั่นทางสถิติว่า รูปแบบขององค์กรมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพด้านต้นทุนของธนาคารทั้งในด้านบวกและลบ โดยธนาคารที่ถูกควบรวมมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนสูงกว่าธนาคารที่ไม่ได้ควบรวม ในขณะที่ธนาคารที่ถูกควบรวมโดยธนาคารต่างประเทศ และธนาคารที่ถูกรัฐเข้าควบคุม จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าธนาคารที่ไม่ได้ถูกควบคุม นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือวัดประสิทธิภาพเชิงเส้นพรมแดนกับอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพกันโดยทั่วไป
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)