รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง บทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ไทยกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ: การศึกษาตามกรอบการจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ชื่อเรื่องรอง The role of Thai HR practitioners in corporate social responsibility (CSR) : a stakeholder management perspective
ชื่อผู้แต่ง
1.ธนากร มูลพงศ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ความรับผิดชอบต่อสังคม
หัวเรื่องควบคุม
1.ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
2.นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3.การมีส่วนร่วมทางสังคม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตระหนักในแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของนักทรัพยากรมนุษย์ไทย ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์ทฤษฎีการจัดการผู้มีส่วนร่วมได้เสียขององค์การเป็นกรอบในการศึกษา รวมถึงศึกษาบทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ในการส่งมอบคุณค่าหรือการตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักทรัพยากรมนุษย์ที่ปฏิบัติงานในองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน และภาครัฐวิสาหกิจ จำนวน 368 คน ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพบว่า การตระหนักต่อสภาพความเป็นจริงของธุรกิจ ได้แก่ ความรอบรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เศรษฐกิจและกฎหมาย และโครงสร้างประชากรมีอิทธิพลต่อการตระหนักต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของนักทรัพยากรมนุษย์ไทย และยังพบว่า นักทรัพยากรมนุษย์ไทยสามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การ ได้แก่ ลูกค้า ผู้บริหารและองค์การ ตลอดจนพนักงานด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ การตระหนักต่อความรับผิดชอบต่อสังคมของนักทรัพยากรมนุษย์ไทยยังเป็นตัวแปรคั่นกลางแบบสมบูรณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักต่อสภาพความเป็นจริงของธุรกิจกับการส่งมอบคุณค่าให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์การ ในตอนท้าย ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางประยุกต์ใช้ผลการศึกษาทั้งในเชิงทฤษฎีและในเชิงปฏิบัติ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 32
ฉบับที่ 126
หน้าที่ 51 - 84
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)