รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ผลกระทบเชิงประจักษ์ของสถานการณ์การแข่งขัน การจัดการความรู้บรรยากาศการเรียนรู้ ความพร้อมในการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานสาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องรอง Empirical impact of competition rivalry, Knowledge management, learning climate, readiness to change, and innovation on performance of Siam commercial Bank Branches
ชื่อผู้แต่ง
1.กฤตกร กัลยารัตน์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ธนาคารไทยพาณิชย์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
2.การบริหารองค์ความรู้ -- ธนาคารไทยพาณิชย์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิืทธิพลต่อกลุ่มของสาขาธนาคารที่มีผลการดำเนินงานสูง-ต่ำ ในบริบทการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงสาเหตุกับผลการดำเนินงานของธนาคารสาขาที่มีระดับผลประกอบการสูง-ต่ำ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้และรูปแบบของบรรยากาศการเรียนรู้ของกลุ่มธนาคารสาขาที่มีผลประกอบการสูง-ต่ำ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สาขาของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในประเทศไทยจำนวน 938 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551) การศึกษาประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ การศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการศึกษาเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือแบบสอบถามจำนวน 430 สาขาที่ได้รับคืนมา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 221 สาขาและกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ 209 สาขา การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้จัดการและการสังเกตการณ์ทำงานในสาขาธนาคารไทยพาณิชย์จำนวน 20 สาขา โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง 8 สาขา และกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ 12 สาขา ผู้วิจัยใช้โปรแกรมสถิติ SPSS version 16.0 ร่วมกับ โปรแกรม AMOS 7.0 ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการสูง (n = 221) พบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X กำลัง 2 = 142.39, df = 119, x กำลัง 2/df = 1.197, ns., GFI =.942) และพบว่า สถานการณ์การแข่งขันมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกกับการจัดการความรู้ (y = .79, p < .001) และบรรยากาศการเรียนรู้ (y = .93, p = < .001) และยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีการจัดการความรู้ และบรรยากาศการเรียนรู้ เป็นตัวแปรคั่นกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า การจัดการความรู้ยังมีอิทธิพลโดยตรงเชิงลบต่อผลการดำเนินงาน (B =-.89, p < 0.01) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรม และความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวแปรคั่นกลาง ส่วนบรรยากาศการเรียนรู้ พบว่า มีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงาน (B = .36, p < .05) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานโดยมีนวัตกรรมเป็นตัวแปรคั่นกลาง ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเินินงานได้ร้อยละ 92.9 อนึ่ง การที่การจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของสาขาที่มีผลประกอบการสูง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมชี้ว่า การจัดการความรู้มีอิทธิพลเชิงลบต่อตัวแปรระดับความพึงพอใจของพนักงานตัวแปรเดียวเท่านั้น นั่นคือ หากมีการจัดการความรู้ที่เน้นเพียงกระบวนการมากกว่าการสร้างการตระหนักถึงคุณค่าจะส่งผลให้ระดับความพึงพอใจของพนักงานลดลง ในกลุ่มสาขาที่มีผลประกอบการต่ำ (n = 209) พบว่า โมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X กำลัง 2 = 113.772, df = 94, X กำลัง 2/df = 1.210, ns., GFI = .950, CFI = .994) และพบว่าสถานการณ์การแข่งขันมีอิทธิพลโดยตรงเชิงบวกกับการจัดการความรู้ ( y = .87, p < 100) และบรรยากาศการเรียนรู้ (y = .97, p < .001) ส่วนการจัดการความรู้ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน แต่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความพร้อมในการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ด้านบรรยากาศการเรียนรู้พบว่า ไม่มีอิทธิพลใดต่อผลการดำเนินงาน ซึ่งโมเดลสามารถอธิบายผลการดำเินินงานได้ ร้อยละ 91.8 ในส่วนท้ายของบทความได้จัดทำข้อเสนอแนะในการประยุกต์ผลการศึกษาแก่ธนาคารไทยพาณิชย์และหน่วยงานต่างๆ ไว้ด้วย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 32
ฉบับที่ 126
หน้าที่ 1 - 24
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)