รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทไทยในการลงทุนทางตรงในประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
ชื่อเรื่องรอง Factor affecting Thai companies' decisions for foreign direct investment in Russian federation
ชื่อผู้แต่ง
1.มธุตฤณ เวสารัตน์
2.สมชนก ภาสกรจรัส
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การลงทุนทางตรง
หัวเรื่องควบคุม
1.การลงทุนของไทย -- รัสเซีย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทไทยในการลงทุนทางตรงในประเทศสหพันธรัฐาัสเซีย (เรียกโดยย่อว่ารัสเซีย) และศึกษาถึงรูปแบบการลงทุนของษริษัทไทยในรัสเซียและสาเหตุของการเลือกรูปแบบดังกล่าว โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารบริษัทผลิตอาหารสัตว์และเลี้ยงสุกร บริษัทผลิตเครื่องสำอางและนักธุรกิจไทยที่กำลังจะเปิดร้านอาหารไทย ณ กรุงมอสโก และจากเอกสาร หลักฐาน และการสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าการลงทุนของบริษัทไทยในรัสเซียสอดคล้องกับทฤษฎีการลงทุนทางตรงต่อประเทศอย่างสมบูรณ์ (Eclectic paradigm หรือที่นิยมเรียกว่า OLI Paradigm) ของจอห์น เอช ดันนิ่ง (John H. Dunning) ที่กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดการลงทุนทางตรงต่างประเทศเกิดจากข้อได้เปรียบจากการเป็นเจ้าของสินทรัพย์บางประการ ข้อได้เปรียบจากแหล่งที่ตั้ง และข้อได้เปรียบจากการทำภายในบริษัทเอง เหตุผลหลักในการไปลงทุนของธุรกิจไทยในรัสเซียมีดังนี้ 1) เพื่อใช้ประโยชน์จากการมีความได้เปรียบเฉพาะในด้านเทคโนโลยีและความชำนาญด้านการผลิต การจัดการ 2) เพื่อใช้ประโยชน์จากขนาดหรือศักยภาพของตลาด 3) เพื่อใช้ประโยชน์จากแหล่งวัตถุดิบอันเป็นปัจจัยการผลิต 4) เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 5) เพื่อสร้างกลยุทธ์ความได้เปรียบคู่แข่งด้านราคา และ 6) เพื่อหลีกเลี่ยงการรั่วไหลของความรู้ที่เป็นข้อได้เปรียบสำคัญของบริษัท ทั้งนี้สาเหตุในการลงทุนส่วนใหญ่คือ เพื่อเป็นการแสวงหาตลาด ซึ่งพบว่า มีการเลือกรูปแบบการลงทุนร่วมในธุรกิจบริการเพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถของหุ้นส่วน การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ Linkage-Leverage-Learning Model (LLL Model) ของจอห์น เอ แม็ททิว (John A. Mathew) วิเคราะห์การลงทุนดังกล่างพบว่า ในกรณีของร้านอาหารไทยนั้นสามารถอธิบายด้วย LLL Model ได้ชัดเจนกว่า OLI Paradigm
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ปีที่ 33
ฉบับที่ 128
หน้าที่ 86 - 105
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ กองบรรณาธิการวารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6564
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)