รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของผู้ออมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
|
ชื่อเรื่องรอง |
Household saving behavior and determinants of the forms of saving and investment in Bangkok metropolitan and perimeter
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ปิยรัตน์ กฤษณามระ |
2. | พัชราวลัย ชัยปาณี |
3. | เมธินี วณิกุล |
4. | รัฐชัย ศีลาเจริญ |
5. | นาถฤดี ศุภกิจจารักษ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การออม |
2. | พฤติกรรมการออม |
3. | รูปแบบการออม |
4. | การออมและการลงทุน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
โครงการวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของผู้ออมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นโครงการหนึ่งในโครงการวิจัยเรื่องความมั่งคงและเสถียรภาทางการเงินผ่านตลาดทุน ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึการ โครงการวิจัยนี้ดำเนินการเก็บข้อมูลปฐมภูมิในมิติต่างๆ โดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีรายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป และมีอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์ในการออม รูปแบบการออมและปัจจัยที่มีผลต่อตลาดทุน ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะนำไปหาข้อสรุปในเรื่องการพัฒนาการลงทุนในตราสารการเงินในตลาดทุน และสามารถนำไปใช้พิจารณากำหนดและปรับปรุงนโยบายตลอดจนมาตรการต่างๆ ในอันที่จะส่งเสริมการออมโดยเพิ่มปริมาณการลงทุนผ่านตลาดทุนในประเทศต่อไป
ผลจากการวิจัยพบว่า จากกลุ่มตัวอย่างของผู้ออมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยเฉลี่ยมีการศึกษาดี มีรายได้ปานกลางไปถึงค่อนข้างสูง และมีอัตราการออมเฉลี่ยร้อยละ 32 ของรายได้ประจำ โดยที่วัตถุประสงค์หลักของการออมคือ เพื่อไว้ใช้จ่ายหลังการเกษียณอายุ รูปแบบการออมที่เลือกคือ การฝากเงินกับธนาคาร ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต และซื้ออสังหาริมทรัพย์มากกว่าการลงทุนซื้อตราสารการเงินในตลาดทุน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ออมทราบดีว่าการลงทุนซื้อตราสารการเงินจะได้รับผลตอบแทนสูง แต่ก็มีความเสี่ยงสูง และมีความซับซ้อนเข้าใจยากจึงไม่สนใจที่จะลงทุน นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ออมให้ความสำคัญต่อการจัดสรรเงินออมไปลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์มากเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเชื่อว่าการลงทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารการเงิน รวมทั้งความจำเป็นในเรื่องที่อยู่อาศัย
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)