รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนอนุบาลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | อุษามาส ธเนศานนท์ |
2. | สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม |
2. | การพัฒนางานโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี โดยใช้แนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ตัวแทนผู้บริหาร จำนวน 2 คน ตัวแทนครู จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 5 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 9 คน ของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนางานโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนอนุบาลบ้านต้นกล้า จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนางานของโรงเรียน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ การกำหนดนโยบายของโรงเรียนให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ปรับแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง และบูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) ด้านการบริหารบุลคลตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การทบทวนรายรับ-รายจ่าย ของโรงเรียนให้มีความสมดุล จัดทำโครงการรณรงค์เพื่อการประหยัดงบประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อประหยัดงบประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3) ด้านการบริหารงานงบประมาณตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรให้มีความเข้าใจและตระหนักในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และจัดโครงการรณรงค์เพื่อบุคคลากรสามารถปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 4) ด้านการบริหารงานทั่วไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน และร่วมกิจกรรมในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเผยแพร่การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการศึกษา
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)