รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การบริหารจัดการในยุคสังคมความรู้
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
สังคมในปัจจุบันได้ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมความรู้ (Knowledge Society) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) นั่นหมายถึงปัจจัยหลักที่ใช้ในการผลิตจะเปลี่ยนจากทุนและแรงงานอย่างในอดีต มาเป็นความรู้และนวัตกรรม การผลิตได้เปลี่ยนจากการผลิตแบบจำนวนมาก (Mass Production) มาเป็นการผลิตเพื่อผู้บริโภค (Mass Customization) ซึ่งเป็นการผลิตโดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้มีศักยภาพแข่งขันได้ในตลาดโลก ในการจะก้าวสู่สังคมความรู้และเศรษฐกิจฐานความรู้ได้นั้นองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ บุคลากรแรงงานเองก็จะต้องพัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะหลายด้าน (Knowledge Worker) ซึ่งมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นนั้น นอกจากเราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้แล้ว เรายังจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆให้เกิดขึ้นได้ด้วย
ปัจจุบันการวัดความสามารถของประเทศต่างๆได้เปลี่ยนจากการวัดโดยดูจากอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ หรือรายได้ประชาชาติต่อหัว มาเป็นการดูจากอัตราส่วนของผู้ที่ทำงานเป็นนวัตกรรมในระดับโลก ทั้งนี้เนื่องจากความรู้เป็นสิ่งที่กำหนดกฎ กติกา และกำไรของเศรษฐกิจใหม่ ประการแรก ความรู้เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุดและสามารถซื้อขายได้ ประการที่สอง การมีความรู้ทำให้เรามีสินทรัพย์ความรู้ (Knowledge Assets) หรือปัจจุบันเรียกว่า ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร ประการที่สาม ความร่ำรวยในเศรษฐกิจใหม่และการหาประโยชน์จากสินทรัพย์ใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในองค์กร ทำให้องค์กรต้องการศัพท์ใหม่เทคนิคการจัดการใหม่ เทคโนโลยีใหม่รวมถึงกลยุทธ์ใหม่
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)