รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : กรณีศึกษาบริษัทภายใต้อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำกับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.จิตรลดา อมรวัฒนา
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ความมีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
2.สถาปัตยกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์
3.การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์
หัวเรื่องควบคุม
1.การบริหารงานบุคคล
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความมีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (อุสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำ) และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (อุสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง) ในประเทศไทยใดยใช้การวิัจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งส่งไปยังบริษัทผลิตเครื่องหุ่งห่มขนาดใหญ่ จำนวน 106 แห่ง และบริษัทผลิตชิ้นส่วนและอุปการณ์อิเล็กทรนิกส์ขนาดใหญ่ จำนวน 105 แห่ง ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับความมีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทผลิตเครื่องนุ่งห่มอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับความมีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของบริษัทผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเ็กทรอนิกส์อยู่ในระดับสูง โดยปัจจัยที่มีผลต่อความมีประสิทธิผลแบ่งได้เป็น . มิติในรูปแบบของสถาปัตยกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้แก้ ปัจจัยด้านผ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งปัจจัยในแต่ละกลุ่มมีผลต่อระดับความมีประสิทธิผลในระดับที่แตกต่างกันในกลุ่มอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดต่อความมีประสิทธิผลของบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในบริษัทผลิตเครื่องนุ่งห่มคือ ความสามารถเชิงกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์(Strategic Human Resource Management Competencies) รองลงมาคือ ผลจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์(Strategic Human Resource Deliverables) และความสามารถเชิงเทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Technical Human Resource Management Competencies) ปัจัยที่ส่งผลมากที่สุดต่อความมีประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คือ ความสอดคล้องภายนอกระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (External Alignment) รองลงมาคือ ความสอดคล้องภายในระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Internal Alignment)และความมีประสิทธิภาพของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Department Efficiency)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 33
ฉบับที่ 125
หน้าที่ 46-78
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125233X
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)