รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง พฤติกรรมและความพึงพอใจของชาวต่างชาติต่อเครื่องดื่มกาแฟที่จำหน่ายในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.วิทวัส รุ่งเรืองผล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.กาแฟ -- การบริโภค
2.ผู้บริโภค -- ทัศนคติ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ธุรกิจร้านกาแฟ เป็นหนึ่งธุรกิจที่มีอัตราการขยายตัวสูง มีผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่เป็นจำนวนมาก มีผู้ประกอบการส่วนหนึ่งที่มีลูกค้าเป็นชาวต่างชาติ หรือมีแผนจะขยายสาขาออกไปต่างประเทศ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจพฤติกรรมในการดื่มกาแฟของลูกค้าต่างชาติ ทำให้ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีเท่าที่ควร จากการศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของชาวต่างชาติที่มีต่อกาแฟที่มีจำหน่ายในประเทศไทย สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการศึกษาได้ดังนี้ 1.ชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทย เคยดื่มกาแฟในประเทศไทยสูงถึง 72.21% โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวเชื้อชาติทางอเมริกาเหนือจะมีเปอร์เซ็นต์ผู้เคยดื่มมากที่สุด คือ 88.24% นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นจะดื่มกาแฟต่ำกว่าชาติอื่นๆ คือ เพียง 57.41% ขณะที่ชาติอื่นๆ เช่น ยุโรป 69.84% จีน/ไต้หวัน/ฮ่องกง 63.08% และอื่นๆ ที่เหลือ 67.74% ในกลุ่มที่เคยดื่มกาแฟ ส่วนใหญ่ คือ 43.6% ชอบดื่มแต่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกาแฟมากนัก ส่วนที่เห็นว่ากาแฟมีความสำคัญจนถึงสำคัญมากขาดไม่ได้มีรวมกันสูงถึง 46.3% 2.ชาวต่างชาติเกินกว่าครึ่งคือ 56.2% ดื่มกาแฟโดยไม่สนว่ากาแฟที่ดื่มเป็นพันธุ์อะไร แต่สำหรับผู้ที่สนใจจะชอบพันธุ์ราบิก้ามากกว่าพันธุ์อื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ สูงถึง 18.2% 3.เมื่อให้กลุ่มชาวต่างชาติเลือกกาแฟตามชนิดและระดับราคาตามที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วๆไปในประเทศไทยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเลือกกาแฟที่ชงเป็นแก้วตามสั่งราคา 35-50 บาท ต่อแก้วสูงถึง 41.6% รองลงมาคือกาแฟที่ชงเป็นเหยือกยาวราคา 25-30 บาท ต่อแก้ว และกาแฟสำเร็จรูปราคา 10-20 บาท ต่อแก้วคิดเป็น 33.7% และ 24.7% ตามลำดับในด้านรสนิยมในการดื่มกาแฟ ชาวต่างชาติเกือบครึ่งหนึ่งคือ 47.9%จะชอบกาแฟไม่ใส่นมและน้ำตาล รองลงมาคือ กาแฟดำ 24.1% และกาแฟเย้ฯ 14.4% 4.ความพึงพอใจโดยรวมของชาวต่างชาติที่มีต่อกาแฟที่จำหน่ายในประเทศไทยจะอยู่ในระดับปานกลางด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.43 จากคะแนนเต็ม 5 โดยปัจจัยที่พอใจต่ำสุด 2 อันดับ คือ ความสามารถในการใช้ข้อมูลเรื่องกาแฟของผู้ขายอื่นตามลำดับ เมื่อแยกกลุ่มตัวอย่างตามเชื้อชาติ พบว่า กลุ่มอเมริกาเหนือพอใจกาแฟที่จำหน่ายในเมืองไทยสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ รองลงมาคือ ยุโรป จีน/ไต้หวัน/ฮ่องกง ส่วนสัญชาติอื่นๆจะพอใจต่ำที่สุด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 27
ฉบับที่ 103
หน้าที่ 37 - 57
ปีพิมพ์ 2547
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-233x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)