รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบัญชีสำหรับสัญญาเช่า
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.พรชนก รัตนไพจิตร
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.สัญญาเช่า
หัวเรื่องควบคุม
1.การบัญชี
คำอธิบาย / บทคัดย่อ สัญญาเช่าเป็นสัญญาซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายคือ ผู้เช่าและผู้ให้เช่า โดยผู้เช่าจะได้สิทธิในการเช่าสินทรัพย์ ส่วนผู้ให้เช่าจะได้รับค่าเช่าและอื่นๆ เป็นค่าตอบแทน สัญญาเช่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สัญญาเช่าการเงิน (Finance Lease) ผู้เช่า – สัญญาเช่าการเงินเป็นสัญญาเช่าที่มีการโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดที่พึงได้รับจากสินทรัพย์ไปให้แก่ผู้เช่า ฉะนั้นผู้เช่าจะมีการบันทึกสินทรัพย์ที่เช่าขึ้นบัญชี และบันทึกผู้ให้เช่าเป็นเจ้าหนี้ด้วยมูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายหรือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่าแล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่าเมื่อมีการบันทึกสินทรัพย์ ผู้เช่าก็จะต้องตัดค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ด้วย ส่วนการบันทึกหนี้สินด้วยมูลค่าดังกล่าวทำให้ค่าตอบแทนที่ผู้เช่าต้องจ่ายแก่ผู้ให้เช่าทั้งหมดในอนาคตสูงกว่าหนี้สินที่บันทึกไว้ ผลต่างที่เกิดขึ้นก็คือ ดอกเบี้ยซึ่งจะต้องบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายตลอดอายุของสัญญาเช่าตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Method) ผู้ให้เช่า – สัญญาเช่าการเงินทางด้านผู้ให้เช่ามีเงื่อนไขเช่นเดียวกับผู้เช่า ฉะนั้นผู้ให้เช่าจะโอนสินทรัพย์ออกจากบัญชี และบันทึกผู้เช่าเป็นลูกหนี้ด้วยจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้เช่าต้องจ่ายบวกด้วยมูลค่าคงเหลือที่ไม่ได้รับการประกันเงินจำนวนนี้เป็นค่าตอบแทนทั้งหมดที่ผู้ให้เช่าจะได้รับในอนาคตจึงมีดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วย ดอกเบี้ยจะทยอยรับรู้เป็นรายได้ตลอดอายุของสัญญาเช่าเช่นเดียวกับผู้เช่า ผู้ให้เช่าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย ผู้ให้เช่าประเภทนี้จะซื้อสินทรัพย์มาแล้วนำออกให้เช่า ฉะนั้นราคาทุนจะเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ จึงไม่มีกำไรขาดทุนเกิดขึ้น ผู้ให้เช่าอีกประเภทหนึ่งคือ ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย ซึ่งผลิตสินทรัพย์และให้เช่าโดยคำนวณค่าเช่าจากมูลค่ายุติธรรมจึงเกิดกำไรขาดทุนจากผลต่างของมูลค่ายุติธรรมและราคาทุนของสินทรัพย์ 2. สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) ผู้เช่า – สัญญาเช่าดำเนินงานเป็นสัญญาเช่าที่ไม่เข้าเงื่อนไขของสัญญาเช่าการเงิน ผู้เช่าจะบันทึกค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุของการสัญญาเช่า ถึงแม้ค่าเช่าที่จ่ายจริงในแต่ละงวดจะไม่เท่ากันก็ตาม ผลต่างของค่าเช่าที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายกับค่าเช่าที่จ่ายจริงอาจบันทึกเป็นค่าเช่าค้างจ่ายหรือค่าเช่าจ่ายล่วงหน้าแล้วแต่กรณี ผู้ให้เช่า – บันทึกค่าเช่าเป็นรายได้ในแต่ละงวดตามวิธีเส้นตรงถึงแม้ค่าเช่าที่ได้รับจริงจะไม่เท่ากันทุกงวดก็ตาม ผลต่างของค่าเช่าที่บันทึกเป็นรายได้และค่าเช่าที่รับจริงอาจบันทึกเป็นค่าเช่าค้างรับหรือค่าเช่ารับล่วงหน้าแล้วแต่กรณี
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 27
ฉบับที่ 102
หน้าที่ 1 - 22
ปีพิมพ์ 2547
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-233x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)