รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง บทบาทของเว็บไซต์การศึกษา www.thaigoodview.com กับสื่อสารการเรียนรู้
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.พรรณทิวา จันทร์สกุล
2.พิรงรอง รามสูต
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสารทางการศึกษา
2.การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
3.คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
4.การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ที่มาแลความสำคัญ ในปัจจุบัน การเข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษาของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก่อให้เกิดคลังแห่งปัญญาซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการศึกษา ทำให้สามารถลดช่องวางทางการศึกษา อีกทั้งเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา และเพิ่มประสิทธิภาพด้านความรู้ความสามารถของเด็กและเยาวชน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป ก่อเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ยืน ภู่วรรณ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษาของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้กล่าวถึง แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ในบทความเรื่อง “แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ให้อะไรแก่เด็กไทยบ้าง” ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 25 ธ.ค. 2549 ว่า “เป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่เข้าถึงได้ทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ได้ด้วยตนเอง จากการคิดได้เอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ตามอัธยาศัยและต่อเนื่องจนเกิดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีความสำคัญตรงที่เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเป็นแหล่งการปลูกฝั่งนิสับรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และตัวอย่างแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ที่ให้เยาวชนและผู้สนใจได้เก็บเกี่ยวไปใช้ได้ อาทิ เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว (www.thaigoodview.com) สำเว็บไซต์การศึกษาของไทย เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวเป็นตัวอย่างของเว็บไซต์การศึกษาไทยที่มีความโดเด่นทั้งในด้านการนำเสนอเนื้อหา และประสบความสำเร็จในการเป็นสื่อกลางการสื่อสารความรู้ โดยเป็นเว็บไซต์ที่สามารถติดอันดับ 1 ใน 5 เว็บไซต์ยอดนิยม และเป็นเว็บไซต์การศึกษาที่มีผู้เข้าใช้เป็นจำนวนมากที่สุด นอกจากนี้ยังคงประสิทธิภาพในการคงอันอับ 1 ใน 5 เว็บไซต์ยอดนิยมได้อย่างต่อเนื่อง อาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล อาจารย์โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย วิทยากนแกนนำสาขาคอมพิวเตอร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เว็บมาสเตอร์และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอม ได้กล่าวใน หนังสือพิมพ์ TELECOM JOURNAL ฉบับวันที่ 16-22 เมษายน 2550 ในคอลัมน์ Special Interview “ทางที่ไร้กลีบกุหลาบสำหรับ” เว็บไซต์สีขาว” www.thaigoodview.com ว่าเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว เริ่มก่อตั้งเมื่อ 24 เมษายน พ.ศ 2543 โดยเริ่มต้นด้วยความตั้งใจอยากให้เด็กไทยมีเว็บไซต์ดีๆ ไว้เรียนรู้ และส่งเสริมให้เด็กและครูรูจักใช้ไอซีทีเพื่อจัดการเรียนรู้ เพราะเชื่อว่าเด็กอธิบายให้เด็กฟัง จะเข้าใจมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนครูก็สามารถนำไอซีทีมาประยุกต์ใช้พัฒนาการเรียนการสอนและเผยแพร่ผลงานของตนให้ครูและนักเรียนต่างพื้นที่ด้วย เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวดอทคอมดำเนินการมา 8 ปี โดยปราศจากการโฆษณา โดยมีผู้ใช้งานมาแล้วกว่า 65 ล้านหน้า มีผู้ใช้งานซึ่งเป็น Unique IP มากกว่า 5 ล้าน IP (ข้อมูลเดือนธันวาคม 2550) และเมื่อก้าวเข้าสูปีที่ 9 เว็บไซต์ยังคงแนวทางการเป็นเว็บไซต์สีขาวอย่างมั่นคงแม้ว่าจะมีการเพิ่มโฆษณา แต่ก็เป็นโฆษณาที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้เว็บไซต์ในทางที่ดี ไม่มีการนำโฆษณาด้านธุรกิจหรือการหาผลประโยชน์โดยการใช้โฆษณาดึงดูดใจเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานเว็บไซต์ และนอกจากนี้เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวยังมีจุดเด่นในด้านต่างๆ คือ 1.มีสถิติจำนวนผู้เข้าใช้เป็นจำนวนมาก และมีสถิติในการจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจน 2.มีเนื้อหาครบถ้วน ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารเป็นประจำ และเป็นเว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้ครู นักเรียนได้เข้าไปเป็นทั้งผู้ผลิตสื่อและผู้ใช้สื่อได้ 3.เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาด้านวิชาการที่ก่อตั้งมานานโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์ไม่ดำเนินการเพื่อธุรกิจ หรือเปลี่ยนแนวทางไปจากเดิม 4.ได้รับคัดเลือกหรือได้รับการยอมรัยจากบุคคลองค์กร หรือสถาบันต่าง คือ สื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชนปี 2544*2545 เว็บนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Best Innovation) Web award 2005 และยังทำให้ UNESCO คัดเลือกเป็นผลงาน “การใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและบริการจัดการที่มีประสิทธิภาพ” 5.ไม่เป็นเว็บไซต์การศึกษาที่มีเนื้อหาหรือโฆษณาที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น การโฆษณาที่ไม่สร้างสรรค์ ดาวน์ภาพโป๊ ภาพลามก เรื่องเพศ เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดใจให้คนเข้ามาใช้เว็บไซต์มากขึ้น เป็นตัน จากการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพของการดำเนินงานในเว็บไซต์ และจากการเผยแพร่ของสื่อมวลชน เปิดโอกาสทำให้มีคนรู้จัก มีผู้เข้ามาใช้มากขึ้น โดยทางเว็บไซต์มีการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหาและความน่าสนใจอยู่เสมอจนทุกวันนี้ เว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว ได้กลายเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมที่นักเรียนและครูได้ใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ เด็กไม่ได้เป็นแค่ผู้ใช้ แต่เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ให้ คือเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้สื่อ เช่นเดียวกันกับครู โดยเนื้อหาภายในเว็บมีสาระครอบคลุมทุกระดับชั้นมีทั้งบทเรียน บทความ ข่าว รูปภาพ ซึ่งมาจากครูและนักเรียนทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ให้ครูได้จัดทำตัวอย่างสื่อการสอนบทเรียนออนไลน์ E-learning ของครูในทุกระดับชั้นจากทั่วประเทศ ผ่านระบบเครือข่าย มี E-portfolio นำแฟ้มสะสมวานมาเก็บไว้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้กระดานขาว (Web board) ในการจัดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างโรงเรียนหรือเครือข่าย สร้างชุมชนออนไลน์ขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวได้ใช้ไอซีทีในการจัดการความรู้ได้แบบบูรณาการ และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับครูและนักเรียนได้อย่างดีเยี่ยม พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ได้กล่าวถึงปัญหาของเว็บไซต์การศึกษาในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ ฉบับ วันที่ 16 มิ.ย. 2550 ในคอลัมน์ IT Exclusive เปิดใจพ่อพิมพ์ผู้เสียสละกับการใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาเด็กไทยว่า “แหล่งความรูออนไลน์ของเด็กไทยในปัจจุบัน หรือเว็บไซต์การศึกษาดีดๆ ทำได้ยาก เว็บไซต์สีขาวมักจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 ปี เรื่องจากไม่มีเนื้อหาภาษาไทยที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจเพียงพอ ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเว็บไซต์ ขาดการสนับสนุนองค์กรภาครัฐหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อีกทั้งวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงและความสนุกสนาน อาจทำให้ไม่มีคนมาดู ไม่ได้รับการเหลียวแล เพราะโฆษณาจะไม่ค่อยลงทุนกับเว็บการศึกษา จะให้ก็แต่เว็บสีเทาหรือสีดำเท่านั่น ซึ่งสุดท่านเว็บการศึกษาเหล่านี้ก็จะต้องสลายไป บางเว็บที่มีเนื้อหาวิชาการเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เว็บที่มีเนื้อหาวิชาการเพียงอย่างเดียว ต้องมีเนื้อหาอื่นด้วย เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้ เช่น ต้องมีภาพโป๊ ภาพลามก มีข่าวดารา เรื่องบันเทิง ดาวน์โหลดริงโทน หรือมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสมต่อเด็กและเยาวชน” ด้าน ครรชิต มาลัยวงศ์ นักวิชาการด้านไอซีที ได้มองไอซีที โดยเสนอในบทความเรื่องแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ ให้อะไรแก่เด็กไทยบ้าง ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 25 ธ.ค. 2549 มองว่า ไอซีทีเป็นเครื่องมือที่มีความสามรถในการบันทึกข้อมูลข่าวสาร มีความสามารถในการค้นข้อมูลข่าวสารรูปแบบต่างๆ ออกมาให้ใช้งาน รวมทั้งมีความสามรถในการคำนวณและการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับที่อยู่ห่างไกล แต่ลำพังเทคโนโลยียังไม่เพียงพอที่จะช่วยสร้างการเรียนรู้ให้เด็กไทย แต่ต้องอาศัยผู้ทรงความรู้ความนำความรู้นั้นมาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่และวิธีนำเสนอให้เด็กไทยได้เรียนรู้ ซึ่งถ้าหากเนื้อหาไม่น่าดึงดูดก็ต้องอาศัยศิลปะมัลติมีเดียที่จะนำเนื้อหานั้นมาถ่ายทอดออกมาเป็นบทเรียนที่มีการถ่ายทอดอย่างดี น่าสนใจ และเยี่ยมยอดเพียงใด แต่ถ้าหากเด็กไม่สามารถเข้าถึง หรือเข้าถึงแต่ไม่สนใจจะเปิดดู บทเรียนนั้นก็คงเปล่าประโยชน์ที่ได้กล่าวถึง จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว ในฐานะที่เป็นสื่อที่มีเนื้อหาที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อสังคม โดยเฉพาะในยุคสังคมอุดมปัญญา อีกทั้งเป็นสื่อกลางการสื่อสารความรู้ออนไลน์แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงเป็นแหล่งชุมชนการศึกษาขนาดใหญ่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุคน ไม่ว่าจะเป็นครู อาจารย์ นักเรียน หรือประชาชนทั่วไป ให้เป็นทั้งผู้ผลิตสื่อและผู้ใช้สื่อได้ โดยสามารถถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ทั้งในละนอกห้องเรียนอย่างไม่มีพิษภัย โดยการนี้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษารูปแบบและเนื้อหาของเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิว ลักษณะการสื่อสารความรู้ซึ่งลักษณะดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นพ้นฐานสำคัญของเว็บไซต์การศึกษารูปแบบและวิธีการในการจัดการความรู้ผ่านการสื่อสารบนเว็บไซต์ไทยกู๊ดวิวตลอดจนศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้ในประเด็นการใช้ประโยชน์ ความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ใช่เว็บไซต์อีกด้วย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 28
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 147 - 168
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)