รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะ จ.ลำปาง
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | พฤกษา เกษมสารคุณ |
2. | พัชนี เชยจรรยา |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การไฟฟ้าฝ่ายผลิต -- ลำปาง -- ความรับผิดชอบต่อสังคม |
2. | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- ไทย -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
กลยุทธ์การดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะนั้น พบว่าการดำเนินงานอย่างเป็นชั้นเป็นตอน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อปรับทัศนคติและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน สามารถแบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ได้ 2 ประเภท คือ (1) กลยุทธ์ใช้สื่อ (2) กลยุทธ์เกี่ยวกับการดำเนินงานชุมชนสัมพันธ์
ในส่วนของการรับรู้ข่าวสารทัศนคติและการยอมรับ กฟผ. แม่เมาะ ของชุมชน พบว่าการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและการยอมรับ กฟผ. แม่เมาะของกลุ่มผู้นำทางความคิดและกลุ่มตังอย่างมีความสอดคล้องกัน คือ (1) ชุมชนมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะในระดับต่ำ โดยรับรู้จากสื่อบุคคลและป้ายประชาสัมพันธ์ ตามจุดต่างๆ มากที่สุด (2) ชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อ กฟผ. แม่เมาะ โดยมีทัศนคติที่ดีต่อ กฟผ. แม่เมาะที่ทำให้ อ.แม่เมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างรายได้และความภาคภูมิใจให้กับชุมชนและเป็นแหล่งจ้างงานทำงานให้คนในชุมชนมีงานทำ (3) ชุมชนมีการยอมรับ กฟผ. แม่เมาะอยู่ในระดับปานกลาง (4) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อ กฟผ. แม่เมาะ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมากถึงระดับปานกลางแตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (5) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. แม่เมาะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กฟผ. แม่เมาะซึ่งมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมากถึงระดับปานกลางแตกต่างกันไปในแต่ละสื่อ (6ป ทัศนคติที่มีต่อ กฟผ. แม่เมาะมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับการยอมรับ กฟผ. แม่เมาะ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)