รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การสื่อสารเพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวมาเลเซียเชื้อชาติไทยในรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ทัศนาวดี แก้วสนิท |
2. | อวยพร พาณิช |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | อัตลักษณ์ |
2. | อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
นับตั้งแต่ไทยเสียดินแดน 4 รัฐบนแหลมมลายู อันได้แก่รัฐไทยบุรี รัฐกลันตา รัฐตรังกานู และรัฐเปอร์ลิส ให้แก่อังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2452 อันเป็นปีที่ 42 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และภายหลังจากอังกฤษมอบความเป็นเอกราชอย่างเป็นทางการคืนให้กับสหพันธรัฐมลายูในปี พ.ศ. 2500ทำให้ไทยไม่เพียงสูญเสียผืนแผ่นดินไปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนไทยที่ยังคงอาศัยอยู่ในรัฐดังกล่าว ก็ถูกโอนไปเช่นเดียวกับแผ่นดินที่อยู่อาศัยจนคนเหล่านั้นได้ชื่อว่าเป็นคนติดแผ่นดิน ซึ่งต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหพันธรัฐมลายูหรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน
แม้ปัจจุบันคนไทยในมาเลเซียเหล่านั้น จะถูกกำหนดในทางกฎหมายว่าเป็นผู้มีสัญชาติมาเลเซีย และถูกเรียกว่า ชาวมาเลเซียเชื้อชาติไทย (ชาวเซียม หรือ Siam) แต่การดำรงอยู่ของคนไทยในมาเลเซียที่ถือว่าเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยในประเทศนั้น ในกรรีเช่นนี้โดยทั่วไปวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยอาจถูกกลืนเข้าไปอยู่ภายใต้วัฒนธรรมอื่นและสูญเสีย อัตลักษณ์ของตนไป แต่ในทางกลับกัน คนไทยในมาเลเซียกลับยังคงสามารถธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยได้ดำลงอยู่ได้อย่างเด่นชัด ท่างกลางสภาพแวดล้อมและบริบทของวัฒนธรรมอื่น ซึ่งคนไทยในมาเลเซียได้พิสูจน์ให้เห็นว่า แม้เวลาจะผ่านไปนานนับ 100 ปีการยืนหยัดของวัฒนธรรมไทยท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถสืบทอดคุณค่าของความเป็นมนุษย์และศักดิ์ศรีของชุมชนเอาไว้ได้อย่างน่าภาคภูมิ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า ด้วยเหตุใดคนไทยในมาเลเซียที่ถือได้ว่าเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยเหล่านั้น จึงสามารถยืนหยัดเพื่อแสดงความเป็นตัวตนแห่งชาติพันธุ์และยังคงธำรงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมไทยเอาไว้ได้ แม้บนแผ่นดินอื่น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)