รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาและขยายผลองค์ความรู้การสื่อสารเพื่อสุขภาวะของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.นฤมล ใจดี
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การสื่อสารทางสาธารณสุข -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ กระบวนทัศน์และปรัชญาในการพัฒนางานสาธารณสุขได้มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปจากการแพทย์ที่มุ้งเน้นด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ขาดความเชื่อมโยงกับครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อมในมิติอื่นๆ ประชนชนไม่สามารถในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ต้องหันมาพึ่งพิงระบบบริการสุขภาพมากยิ่งขึ้น (อำพล จินดาวัฒนะ, 2542) แนวทางการแก้ไขปัญหานี้ องค์กรอนามัยโลกได้แนะนำให้ทุกประเทศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์การสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion strategy) จากเดิม ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งให้บริการแก่ปัจเจกบุคคล (individual care) (อำพล จินดาวัฒนะ, 2546) ให้มีความหมายใหม่ว่า การสร้างเสริมสุขภาพ คือ “กระบวนการของการเพิ่มสมรรถนะให้คนสามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดสุขภาพ และเป็นผลให้บุคคลมีสุขภาพดี สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม รวมไปถึงการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี” (อำพล จินดาวัฒนะ, 2546) มองการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพไปในทิศทาง good health approach ซึ่งเชื่อว่าจะให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพที่สูงกว่า
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนิเทศศาสตร์
ปีที่ 28
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 21 - 46
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0859-085x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)