รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลของลักษณะการนำเสนอและรูปแบบข้อมูลพื้นหลังในเวปเพจที่แสดงแบนเนอร์ต่อประสิทธิภาพของแบนเนอร์บนอิเตอร์เน็ต
|
ชื่อเรื่องรอง |
Effects of display styles and background information formats on internet banner effectiveness
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ชัชพงศ์ ตั้งมณี |
2. | อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โฆษณา |
2. | เว็บไซต์ -- การออกแบบ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ข้อจำกัดสำคัญของการใช้แบนเนอร์เพื่อโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต คือ ผู้เข้าเวปไซด์ไม่คลิกแบบเนอร์ การออกแบบแบนเนอร์จึงพยายามปรับปรุงการออกแบบให้จุงใจผู้เข้าเวปไซด์เพื่อคลิ้กบนแบนเนอร์ลักษณะการนำเสนอและรุปแบบของเวปเพจที่แสดงแบนเนอร์ เป็นสองประเด็นทางการออกแบบที่มีการประยุกต์ใช้ แต่การทบทวนวรรณกรรมในอดีตไม่พบการเผยแพร่ผลการเปรียบเทียบความสามารถของแบนเนอร์ ระหว่างสามลักษณะการนำเสนอแบนเนอร์ อันได้แก่ (1) แบบฝังในเวปเพจ (2) แบบป๊อบอัพและ (3) แบบลอยตัว หรือระหว่างแบนเนอร์ที่แสดงในเวปเพจที่ข้อมูลพื้นหลัง (background information) (1)มีและ (2) ไม่มีส่วนเคลื่อนไหว ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงต้องการเปรียบเทียบความสามารถของแบบเนอร์อันเนื่องมาจากสองประเด็นการออกแบบข้างต้น และศึกษาผลกระทบเชิงปฏิสัมพันธ์ (interaction effect ) ของทั้งสองประเด็นต่อความสามารถของแบนเบอร์ ซึ่งในที่วัดจากอัตราการคลิ้กบนแบนเนอร์
อัตราการคลิ้กที่เก็บบันทึกมาจากการทดลองในลักษณะของ field experiment เป็นเวลา 56 วันด้วย การวางแบนเนอร์ของศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บนหน้าแรกของเวป www.mbachula.info และ it.acc.chula.ac.th และการแจกแจงของอัตราการคลิ้กนี้ไม่เป็นแบบปกติ การเปรียบเทียบจึงต้องอาศัยการวิเคราะห์ที่ไม่อิงพารามิเตอร์ ผลการวิเคราะห์พบว่า การคลิ้กบนแบนเนอร์แบบฝังในเวปเพจมีอัตราต่ำสุด ในขณะที่อัตราการคลิ้กบนแบนเนอร์แบบป๊อบอัพ และแบบลอยตัวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่าง แต่สูงกว่าอัตราการคลิ้กบนแบนเนอร์แบบฝังในเวปเพจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ทั้งนี้ ความแตกต่างของอัตราการคลิ้กบนแบนเนอร์ที่แสดงบนเวปเพจที่ข้อมูลพื้นฐาน (1) มีและ (2) ไม่มีส่วนเคลื่อนไหวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากไม่สามารถใช้วิเคราะห์ที่อิงพารามิเตอร์ ดังนั้น การทดสอบผลกระทบผฏิสัมพันธ์จึงต้องกระทำในลักษณะทดลอง (exploration) และพบร่องรอยของผลเชิงปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวของลักษณะการนำเสนอแบนเนอร์ และรูปแบบของเวปเพจแสดงแบนเนอร์ต่ออัตราการคลิ้ก
ข้อค้นพบจากการทดลองช่วยต่อยอดองค์ความรู้ของการบูรณาการศาสตร์ทางการโฆษณา และศาสตร์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศในบริบทของประเทศไทย ผู้ประกอบการแนะนำโฆษณาออนไลน์สามารถใช้ข้อค้นพบเพื่อปรับปรุงกลยุทธการใช้แบนเนอร์ให้เหมาะสมได้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)