รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การนำเสนอ การเปิดเผยข้อมูล และลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินนักการเมืองตามมาตรฐานการบัญชีและแม่บทการบัญชี
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ชำนาญ โพธิ์สุวรรณ
2.มนวิกา ผดุงสิทธิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบัญชี -- มาตรฐาน
2.พรรคการเมือง -- ไทย -- งบประมาณ -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งบการเงิน (Financial Statement) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน (Financial Reporting) ซึ่งแสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ ผู้มีหน้าที่จัดทำงบการเงินควรจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องตามที่ควร โดยแสดงถึงการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมของผลกระทบของรายการบัญชี เหตุการณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ตามคำนิยามและเกณฑ์การรับรู้รายการสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ที่กำหนดไว้ในแม่บทการบัญชีนอกเหนือจากการนำเสนองบการเงินตามาตรฐานการบัญชี การตีความที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแลแล้ว การเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมตามความสมัครใจ (Voluntary Disclosure) ให้เหมาะสมปกกรณีก็จะช่วยให้งบการเงินนั้นได้นำเสนอข้อมูลโดยถูกต้องตามที่ควรต่อผู้ใช้งบการเงิน พรรคการเมืองเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่าให้พรรคการเมืองจัดทำงบการเงินโดยใช้มาตรฐานการบัญชีไทย แต่ก็มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองการสอบบัญชีซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องปฏิบัติการภายใต้ขอบเขตของพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 โดยให้ความเชื่อมั่นในวรรคความเห็นว่า “ถูกต้องตามที่ควรในสานะสำคัญตามหลักการบัญชีทีรองรับทั่วไป” ซึ่ง “หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป” ในที่นี้หมายถึงมาตรฐานการบัญชีไทยซึ่งออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ฝ่ายตรวจสอบบัญชีการเงินและทรัพย์สิน สำนักกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้สรุปข้อผิดพลาดเกี่ยวกับการดำเนินงานเกี่ยวกับงบการเงินในปี 2548 ไว้ 4 ประการหลัก ได้แก่ การนำส่งบัญชีและงบการเงิน การตรวจสอบบัญชี การจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี และข้อผิดพลาดในการจัดทำบัญชีและงบการเงินต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์พนักงานการเงินและบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับงบการเงินพรรคการเมืองพบข้อมูลเพิ่มเติมว่า แท้จริงแล้วมีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดทำและนำเสนอข้อมูลทางการบัญชี การเปิดเผยข้อมูลและการนำส่งข้อมูลมากกว่านี้นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ติดต่อกับพรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ปัญหาที่พบคือ ไม่สามารถติดต่อได้ หรือถ้าติดต่อได้ นักการเมืองที่ติดต่อแจ้งว่า ไม่มีผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ ไม่สะดวกในการให้ข้อมูล หรือไม่มีฝ่ายบัญชีเป็นของตนเอง เป็นต้น จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า การจัดทำบัญชีและงบการเงินของนักการเมืองต่างๆ มีความถูกต้องและครบถ้วนมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงความเหมาะสมในการนำเสนอและเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี แม้ว่าผู้ใช้งบการเงินของพรรคการเมืองอาจจะดูเหมือนว่า มีไม่มากเมื่อเปรียบเทียบผู้ใช้งบการเงินของบริษัทเอกชน แต่หากงบการเงินของนักการเมืองไม่ถูกต้องตามที่ควร ผลกระทบอาจเกิดต่อประชาชนผู้เสียภาษีในวงกว้าง ตัวอย่างเช่น เมื่อวนที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2552 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกวุฒิสภาสรรหา ได้ทำหนังสือถึงนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อให้ตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินสนับสนุนที่ได้รับจากพรรคการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์ ประจำปี 2550 เนื่องจากมีข้อสงสัยว่า ค่าใช้จ่ายสนับสนุนผู้สมัคร 270,650.000 บาทถือเป็นเงินที่ได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับยกเว้นก็จะต้องมรการหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่กลับไม่พบว่ามีการหักภาษี ณ ทีจ่ายจากเงินดังกล่าวไว้ เนื่องจากในหมวดหนี้สินหมุนเวียนไม่มีค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเกี่ยวกับรายการที่จ่ายให้บุคคลธรรมดาหรือ ภงด. 3 แต่อย่างใด ซึ่งคำถามต่อมาก็คือ กรมสรรพกรสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังกล่าวได้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการนำข้อมูลในงบการเงินมาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบเส้นทางการไหลของเงิน รวมไปถึงการอภิปรายของนักการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายค้านว่า มีการตกแต่งเอกสารทางบัญชี วิธีการบันทึกบัญชีหรือการใช้เอกสารหลักฐานทางบัญชีที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ มีการจัดทำงบการเงินเพื่อปกปิดรายงานการรับบริจาคเงิน หรือหัวหน้าพรรคการเมืองบางพรรคอาจรับรองความถูกต้องของรายรับและรายจ่ายอันเป็นเท็จ จึงเห็นได้ว่า อาจจะมีการเอื้อประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างธุรกิจและการเมืองในทางจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อจริยธรรมธุรกิจ การสร้างระบบการกกับดูแลกิจการที่ดีเป็นเรื่องทีรัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมาก เห็นได้จากการผลักดันให้การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติขึ้น เมื่อ เดือน กุมพาพันธ์ พ.ศ.2545 มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นแกนกลางในการผลักดันเพื่อยกระดับบรรษัทภิบาลของประเทศไทยอย่างจริงจังแบะต่อเนื่อง และยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอีก 6 ชุด เพื่อกำหนดแผนงานและดำเนินกิจกรรมที่สร้างเสริมให้เกิดระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีในแต่ละด้านทั้งในเรื่องของการแก้ไขและบังคับใช้กฎหมาย การปรับปรุงมาตรฐานบัญชี การกำหนดแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน การยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้านธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทประกันภัย และบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงการอบรมให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์ การดำเนินการเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทย แต่การกำกับดูแลที่ดีไม่ควรจำกัดเพียงแค่ภาคธุรกิจ ควรครอบคลุมถึงความถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใสของงบการเงิน ของพรรคการเมืองด้วย ผู้ใช้งบการเงินพรรคการเมืองทีมีบทบาทสูงที่สุด ในปัจจุบัน คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ แม้ว่าจะมีการรวบรวมและจัดพิมพ์งบการเงินประจำปีแจกจ่ายให้กับสาธารณชนทั่วไป แต่ก็มีปริมาณการจัดพิมพ์จำกัดและในปัจจุบันการศึกษาวิจัยว่ามีผู้สนใจใช้งบการเงินพรรคการเมืองมากน้อยเพียงใด และผู้ที่ได้รับงบการเงินไปได้ใช้ประโยชน์จากงบการเงินพรรคการเมืองอย่างแท้จริงหรือไม่ ยังคงมีอยู่จำกัด ผู้วิจัยเห็นว่างบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในการสื่อสารข้อมูลที่จัดทำและนำเสนออย่างมีระบบครบถ้วน และถูกต้องต่อสาธารณชน โดยหัวหน้าพรรคการเมืองและเหรัญญิกพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้ลงนามในงบการเงิน ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำและนำเสนอข้อมูลอย่างจริงจัง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการนำเสนอและการเปิดเผยข้อมูลของงบการเงิน พรรคการเมืองตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่องการนำเสนองบการเงิน (“มาตรฐานการบัญชี”) ในส่วนที่เกี่ยวข้อง และลักษณะเชิงคุณภาพที่เหมาะสมตามแม่แบบบัญชี โดยจะศึกษางบการเงินพรรคการเมืองที่มีการจัดพิมพ์และเผลแพร่เป็นการสารธารณะโดยสำนักกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาเปรียบเทียบงบการเงินพรรคการเมืองกับงบการเงินของบริษัททั่วไปซึ่งมีคุณสมบัติในการเป็นตัวอย่างที่ดี (Best Practice) และสามารถอ้างถึงในฐานะตัวแบบที่ควรค่ากับการเปรียบเทียบ (Benchmark) ได้ เนื่องจากงบการเงินทั้งของบริษัทโดยทั่วไป และงบการเงินพรรคการเมืองจะถูกจัดทำและนำเสนอด้วยมาตรฐานการบัญชีเดียวกัน ลักษณะของงบการเงินโดยรวมและรายละเอียดของการจัดทำบัญชีก็มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น หากพิจารณาถึงรูปแบบโดยทั่วไปในการจัดทำละนำเสนองบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี รวมทั้งลักษณะเชิงคุณภาพตามแม่บทการบัญชี งบการเงินพรรคการเมืองและงบการเงินของบริษัททั่วไป จึงไม่น่าจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในงายวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้งบการเงินของ บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในการศึกษาเปรียบเทียบ เนื่องจากบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์ ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องมากกว่าบริษัทโดยทั่วไป ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งมีกฎระเบียบข้อบังคับเป็นการเฉพาะ และให้ความสำคัญกำกับการดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) โดยเฉพาะเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสที่กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งข้อมูลทางการเงินและมิใช่ทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ งานวิจัยนี้ไม่เลือกงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เนื่องจากขนาดและความซับซ้อน ของรายการทางการเงินที่มีมากกว่าซึ่งเกินความจำเป็นและอยู่นอกเหนือขอบเขตงานวิจัยนี้ ผลการศึกษาที่ได้จากงานวิจัยนี้ จะทำทราบถึงการนำเสนอและการเปิดเผยข้อมูลของงบการเงินพรรคการเมืองตามมาตรฐานการบัญชี ความเหมือนหรือความแตกต่างจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงินพรรคการเมืองสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบ กับงบการเงินของพรรคการเมืองที่ตนสนใจ หรืออาจจะมีการเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างพรรคการเมือง ว่ามีความถูกต้อง ครบถ้วน และโปร่งใสมากน้อยเพียงใด รวมทั้งเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานกำกับดูแลและพรรคการเมืองเกิดความใส่ใจกับการนำเสนอและเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 5
ฉบับที่ 14
หน้าที่ 47 - 68
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)