รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.นภดล ร่มโพธิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.องค์การ -- การประเมินผล
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรในปัจจุบันกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกองค์กรจะต้องมีจากการที่องค์กรเตยใช้การประเมินผลเป็นเพียงเครื่องมือประกอบการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาว่าการปฏิบัติงานขององค์กรที่ผ่านมาเป็นอย่างไร จนถึงปัจจุบันระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรไม่ใช่เป็นเพียงแค่ระบบการตรวจสอบเท่านั้น แต่เป็นระบบที่ช่วยนำพาองค์กรให้ช่วยปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ดังนั้นการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากจากในอดีต มาจนถึงปัจจุบัน และต่อเนื่องไปยังอนาคต ในปัจจุบันหลายองค์กรหึความสำคัญต่อผลการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด โดยมีการสร้างระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อทำความเข้าใจในผลการปฏิบัติงานขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือทางการจัดการมานานหลายปี โดยใช้เพื่อหาประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการและเพื่อเพิ่มจุดแข็งและสิ่งทีต้องพัฒนา ในขณะนี้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง โดยจากงานวิจัยพบว่าจะมีรายงานและบทความใหม่ๆ เกี่ยวกับหัวข้อนี้ปรากฏให้เห็นในอัตราความเร็วหนึ่งเรื่องในทุกๆ5ชั่วโมง ของวันทำงานตั้งแต่ปี 1994 และมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรโดยเฉพาะถึง 12 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 1997 ที่มีน้อยกว่า 200,000 เว็บไซต์ (Neely, 2002) นอกจากนี้ยังมีการประชุม สัมมนาและฝึกอบรม มากมายเกี่ยวกับหัวข้อนี้ หลายองค์กรได้ใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการค้นหาและพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อจะมีระบบที่สามารถช่วยให้องค์กรประสบผลสำเร็จ ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรเป็นหัวข้อที่ค่อนข้างมีความหลากหลาย และสามารถมองได้ในหลายมุมมอง โดยอาจจะมองเป็นมุมของการตลาด (Ambler and Kokkinaki, 202; Clark, 2002) มุมมองของการปฏิบัติการ (Neely and Austin, 2002) หรือในมุมมองของบัญชี (Otley, 2002) นอกจากความหลากหลายในเรื่องมุมมองแล้ว การศึกษาในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานยังครอบคลุมถึงระบบสำหรับองค์กรที่แสวงหาผลกำไร (Barsky and Bremser, 1999) และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรอีกด้วย (Authony and Young, 2000; Beckett-Camarata et al. 2000; Orata and Goodkey, 2002) จากความหลากหลายของเนื้อหาและจุดสนใจเหล่านี้จึงเป็นที่มาของการสร้างกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรที่พยายามองให้ครบถ้วนในหลายมุมมอง ยกตัวอย่างเช่น ระบบBalanced Scorecard (Kaplan, and Norton, 1992; 1996a; 1996b; 2001) หรือระบบ Economic Value Added (Stern at al. 1996) ซึ่งมีนักวิจัยหลายท่านได้วิพากษ์วิจารณ์ถึงจุดแข็งจุดอ่อนของระบบเหล่านี้ รวมถึงเสนอแนะกรอบการประเมินสำหรับองค์กรเพื่อใช้ในการพิจาณาสร้างระบบการประเมินผลที่เหมาะสมสำหรับองค์กร (Ahrens and Chapman, 2002; Bititic et al 2002; Kennerley and Neely, 2002: Lebas and Euske, 2002; Otley, 1999) จากประโยชน์ของงานวิจัยเหล่านี้ ทำให้องค์กรได้รับรับถึงประโยชน์รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปปรับปรุงทำให้ระบบการประเมินผลที่มีอยู่ถูกใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร สำหรับในประเทศไทยนั้น ในปัจจุบันนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าทุองค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไรหรือองค์กรที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไรต่างก็มีการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก หรือองค์กรใหญ่ ทุกองค์กรย่อมต้องการทราบถึงผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่เราจะได้เห็นตัววัดผลการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในปัจจุบันโดยเฉพาะตัววัดผลทางการเงิน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักขององค์กรธุรกิจ ซึ่งจะพบเห็นได้จากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือรายงายประจำปี ของบริษัทที่ได้นำเสนอออกสู่สาธารณชน นอกจากตัววัดผลทางการเงินแล้ว ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีตัววัดผลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงินเป็นจำนวนมากที่ได้ถูกนำเสนอ อาทิเช่น ตัววัดผลเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้า อัตราของเสียที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต หรือแม้กระทั่งความเร็วในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด การเกิดขึ้นของตัววัดผลการปฏิบัติงานเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าสนในเป็นอย่างยิ่งว่าทำไมองค์กรจึงได้ให้ความสนใจในเรื่องการประเมินผลเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต ระบบประเมินผลก่อให้เกิดประโยชน์ประการใดแก่องค์กร และความสนใจนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปหรือไม่ในอนาคต และที่สำคัญที่สุดคือ อะไรเป็นปัจจัยหลักที่จะผลักดันให้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรประสบความสำเร็จ ดังนั้นเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ บทความนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเลือกทำการศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เนื่องมาจากบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีฐานะมั่นคงและมีระบบที่น่าเชื่อถือ ประกอบกับบริษัทเหล่านี้มีผู้ถือหุ้นที่เป็นสาธารณชน จึงทำให้มีความสนใจต่อบริษัทเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น โดยวัตถุประสงค์หลักของการศึกษานี้ คือ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับความสำเร็จของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร อันจะทำให้องค์กรสามารถบรรลุผลสำเร็จของระบบประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กร อันจะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามกลยุทธ์ที่ได้ตั้งไว้ต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 5
ฉบับที่ 13
หน้าที่ 55 - 65
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)