รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ระดับของบรรษัทภิบาลมีผลต่อมูลค่าของบริษัทหรือไม่
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ศรายุทธ เรืองสุวรรณ
2.ภัทรพร ปิยะเครือทิพย์
3.วิภาสิริ วิมานรัตน์
4.ปณิธาน ศิริวัฒนานุกุล
5.เมธี จิรัฐติกาลไชย
6.นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.บรรษัทภิบาล -- ไทย -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ “บรรษัทภิบาล” (Corporate Governance) เป็นคำที่มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวงเกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของตนต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียบรรษัทภิบาลถูกริเริ่มขึ้นในภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากธุรกิจจำนวนมาก ไม่สามารถสร้างประสิทธิภาพในทรัพย์สินของธุรกิจได้อย่างเต็มที่และไม่สามารถสร้างระดับอัตราผลตอบแทนที่น่าพอใจแก่ผู้ถือหุ้นได้ส่งผลให้คณะกรรมการบริษัท สำนักงานกำกับดูแลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ รวมทั้งนักลงทุนสถาบันทบทวนบทบาทของตนว่า ควรมีความเกี่ยวพันในกระบวนการตัดสินใจของบริษัทในระดับใดและด้วยหนทางใด (สังเวียน อินทรวิชัย, 2549) แม้ว่าหน่วยงานกำกับดูแลดังเช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี แต่จากผลการจัดลำดับบรรษัทภิบาลในประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เชน สิงคโปร์ หรือมาเลเซีย เป็นต้น เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากพฤติกรรมมิชอบในตลาดทุนของประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นในรูปแบบของการที่กรรมการและผู้บริหารไม่รักษาผลประโยชน์ของบริษัท แต่กลับใช้อำนาจและหน้าที่สร้างประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องจนละเลยผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งปวง (เดือนเด่น นิคมบริรักษ์และจิตกนก จิตมั่นชัยธรรม, 2544) แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำโดยกำหนดให้บริษัทต่างๆ ใช้หลักบรรษัทภิบาลในการดำเนินธุรกิจแต่ในทางปฏิบัติยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร (ศรายุทธ เรื่องสุวรรณ, 2549) ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี และบังคับให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบให้แล้วเสร็จ ภายใน 31 ธันวาคม 2542 ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดังกล่าวเป็นการจุดประกายและสร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กรและการจัดการเลยทีเดียว (สังเวียน อินทรชัย, 2548) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนที่จะให้การบริหารจัดการธุรกิจดำเนินไปอย่างโปร่งใส สุจริตและเป็นธรรมได้กลายเป็นแรงผลักดันให้ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารจัดการภายใต้กรอบบรรษัทภิบาลที่ดี นอกจากนี้ผู้บริหารจำเป็นต้องมีความมุ่งมั่นที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ที่ดีน่าเชื่อถือและน่าสดุดี (ธวัช ภูษิตโภยไคย, 2549) ทุกวันนี้บรรษัทภิบาลได้ครอบคลุมไปถึงจริยธรรมเพื่อช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถประเมินการบริหารจัดการของผู้บริหารได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง รวมถึงส่งเสริมความยั่งยืนทางธุรกิจขององค์กร (เสาวนีย์ สิฌวัฒน์, 2549) นอกเหนือจากการถึงพร้อมด้วยจรรยาบรรณ จริยธรรม และความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจของกรรการบริษัท ตลอดจนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบขององค์กรแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนยังมีเจตจำนงที่จะเห็นความยุติธรรม ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย ความชอบธรรมต่อผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในองค์กรนั้น (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2545) ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลอย่างมีคุณภาพจำนำไปสู่การมีบรรษัทภิบาลของบรรษัทและลดปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการแสวงหาประโยชน์ส่วนตนได้อย่างมีประสิทธิผล แม้ว่าบรรษัทภิบาลจะก่อให้เกิดต้นทุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการตระเตรียมข้อมูลและกระจายข่าวสารต่อสาธารณชนที่สูงกว่าปกติแต่สัดส่วนระหว่างต้นทุนในการเปิดเผยข้อมูลอย่างมีคุณภาพของมูลค่าของสินทรัพย์หรือรายได้รวมกลับชี้ให้เห็นว่า ยิ่งสินทรัพย์หรือรายได้สูงเท่าใดสัดส่วนต้นทุนยิ่งต่ำลงเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บริษัทมีขนาดใหญ่และมีต้นทุนในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใสต่ำกว่าบรรษัทขนาดเล็ก ดังนั้นบรรษัทจดทะเบียนจะได้รับผลประโยชน์จากบรรษัทภิบาลมากกว่าต้นทุนที่เสียไป เพราะบริษัทจดทะเบียนมักเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ กล่าวคือ ต้นทุนการยืม(Cost of Debt) ของบริษัทที่มีบรรษัทภิบาลจะน้อยกว่าบริษัทที่ไม่มีบรรษัทภิบาล (สมชาย สุภัทรกุล, 2544) นอกจากนี้ บรรษัทภิบาลยังส่งผลให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์สามารถทำนายผลประกอบการของบริษัทและจัดทำบทวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยะและถูกต้องมากขึ้น (Chiang, 2005) อันจะช่วยลดความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ได้ในระดับหนึ่ง ในมุมมองของนักลงทุนต่างก็คาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ถือหุ้นด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม ได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการลงทุนที่ถูกต้องครบถ้วนและทันเวลา บรรษัทภิบาลจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยอำนวยและส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนสถาบัน ภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทจะช่วยให้การระดมทุนทำได้สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทมีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำ เพราะบรรษัทภิบาลจะช่วยลดปัญหาตัวแทน (Agent) ให้น้อยลง (ไมตรี เอื้อจิตอนันตกุลและเสาวนีย์ สิฌชวัฒน์, 2549) อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต่างๆเริ่มสนใจที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบของธุรกิจที่ครอบคลุมความรับผิดชอบต่อสังคม หรื Social and Ethical Accounting, Auditing and Reporting (SEAAR) เนื่องจากตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวเช่น พนักงานจะมีความจงรักภักดีต่อธุรกิจอันจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ ละลุกค้าจะเกิดความเชื่อมั่นในธุรกิจซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น สังคมส่วนรวมจะให้การยอมรับต่อองค์กร ภาครัฐจะให้ความช่วยเหลือต่อธุรกิจมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่กล่าวข้างต้นนี้ น่าจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของธุรกิจ (เสาวนีย์ สิฌชวัฒน์, 2549) แต่การที่บริษัทมีบรรษัทภิบาลจะสามารถสร้างมูลค่าของบริษัทสูงขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่มีหลักฐานยืนยัน ดังนั้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าของบริษัทอันเกิดจากผลการปฏิบัติงานที่ดีกับระดับบรรษัทภิบาลของบริษัทเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุน และส่งเสริมการกำกับพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้เทียบเท่านานาอารยประเทศ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 5
ฉบับที่ 12
หน้าที่ 68 - 83
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)