รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบัญชีต้นทุนเยอรมัน
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ดวงมณี โกมารทัต
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การบัญชีต้นทุน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบบัญชีต้นทุนที่ใช้ในการคำนวณสินค้า/บริการ ก็คือระบบบัญชีต้นทุนแบบเดิม (Traditional Costing System) ซึ่งระบบนี้ได้ใช้กันมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 แม้ว่าจะมีความก้างหน้าทางเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และวิทยาการต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ เช่น การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) การบริหารคุณภาพ (Quality Management) ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System) ฯลฯ แต่ปรากฏว่ากิจการทุกแห่งก็ยังใช้ระบบบัญชีต้นทุนแบบเดิมอยู่ ทำให้เกิดการวิจารณ์ถึงข้อบกพร่องของระบบบัญชีต้นทุนต่างๆนานา จนในช่วงปลายทศวรรษ 80 เกิดการตื่นตัว ในหมู่นักวิชาการในการหาแนวคิดต้นทุนใหม่ๆ และแนวคิดต้นทุนฐานกิจกรรม หรือต้นทุนกิจกรรม (Activity-based Costing หรือ ABC): ซึ่งพัฒนาโดย Professor Robert S. Kaplan และ Professor Robin Cooper แห่ง Harvard University หรากฎว่าแนวคิด ABC ได้รับความนิยมและแพร่หลายอย่างรวดเร็ว นอกจากเกิดอาชีพที่ปรึกษาวางระบบต้นทุนกิจกรรมแล้ว ยังมีผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ ABC ทั้งที่เป็นระบบอิสระ (Stand alone) และผนวกเข้ากับอีอาร์พี (ERP หรือ Enterprise Resource Planning) มากขึ้น อย่างไรก็ตามปรากฏว่า แนวคิด ABC ไปไม่ถึงดวงดาวเพราะผลการสำรวจของสถาบันนักบัญชีบริหาร (Institute of Management Accountants หรือ IMA) ร่วมกับสำนักงานบัญชี Ernst & Young เมื่อกลางปี ค.ศ. 2003 ชี้ให้เห็นว่ากิจการหลายแห่งที่เคยประยุกต์ระบบ ABC ต้องการจะยุติระบบนี้และหันไปใช้ระบบต้นทุนแบบเดิมหรือหาระบบต้นทุนอื่นๆ ที่ง่ายกว่า รวมทั้งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการวางระบบและประเมินผลต่ำกว่าระบบ ABC ดังนั้น ผู้ให้แนวคิด ABC เสียใหม่เป็นต้นทุนกิจกรรมตามระยะเวลา1 (Time-Driven Activity-Based Costing หรือ TDBC) ในขณะที่อาจารย์ นักวิชาการและที่ปรึกษาระบบต้นทุนก็หาแนวคิดใหม่อื่นๆ ซึ่งแนวคิดที่เป็นที่กล่าวขวัญกันอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ก็คือ การบัญชีต้นทุนเยอรมัน (German Cost Accounting หรือ GPA) ในความเป็นจริงหลักการบัญชีต้นทุนเยอรมันได้แทรกอยู่ในโมดูล Cost Control หรือ CO ซึ่งเป็นโมดูลหนึ่งในระบบ SAP แต่เนื่องจากปัญหาของภาษาทำให้นักบัญชีชาติอื่นๆไม่รู้จักหลักการดังกล่าว บทความนี้จึงขอให้แนะนะให้รู้จักการบัญชีต้นทุนเยอรมัน โดยเฉพาะทางผู้อ่านที่กำลังใช้ระบบ CO ในปัจจุบันหรือกำลังตัดสินใจว่ากำลังจะใช้ในอนาคต จะได้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานต้นทุนที่อยู่ภายใต้ระบบดังกล่าว อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 2
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 85 - 97
ปีพิมพ์ 2549
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)