รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ผลประโยชน์และต้นทุนในการจัดทำ ระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.พนารัตน์ ปานมณี
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การควบคุมคุณภาพ
2.ไอเอสโอ 9000
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาดัชนีชี้วักผลลัพธ์ในการดำเนินธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากการจัดทำระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9000 ในเชิงธุรกิจ โดยการสำรวจความเห็นของลูกค้า พนักงาน และบริษัท ((บริหารระดับสูง) 2) ศึกษาเปรียบเทียบการประเมินผลการจัดการของผู้บริหารในสี่มุมมองที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากองค์กรได้รับ ISO 9000 ได้แก่ มุมมองด้านนวัตกรรม มุมมองด้านการจัดการภายใน มุมมองด้านลูกค้า มุมมองด้านการเงิน 3) วิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากองค์กรได้รับใยรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 กับการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์หาคำตอบจากบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 444 บริษัท แยกเป็น บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต 384 บริษัท และบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการบริการ 96 บริษัท โดยแยกแบบสอบถามออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ตอบแทนในฐานะเป็นตัวแทนบริษัท ส่วนที่ 2 ผู้บริหารระดับต้น หรือระดับกลาง ตอบแทนพนักงาน ส่วนที่ 3 เป็นส่วนขงลูกค้า มีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และทดสอบสมมติฐานด้วยวิธี Chi-square test สัดส่วน 2 กลุ่ม ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 2
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 29 - 36
ปีพิมพ์ 2549
ชื่อสำนักพิมพ์ ภาควิชาการบัญชี คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)