รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การยื่นหัก ภ.ง.ด. 1 และ ภ.ง.ด. 3 เพิ่มเติม: ช่องทางการตกแต่งกำไรสุทธิ?
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.วรรณี เตโชโยธิน
2.อรจิรา ปัญจะเทวคุปต์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.วรรณี เตโชโยธิน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การนำเสนอตัวเลขกำไรของบริษัทโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลประกอบการในทิศทางที่ต้องการ (Earrings Management) เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมายาวนาน เริ่มจากกระแสความเชื่อว่ามีการตกแต่งกำไรสุทธิให้ผิดจากข้อเท็จจริงเพื่อผลประโยชน์ของผู้บริหาร นักวิชาการได้แสดงหลักฐานของการตกแต่งกำไร โดยใช้ความรู้จากทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) เพื่อระบุสถานการณ์ที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการตกแต่งกำไร และศึกษาเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการตกแต่งกำไร จนนำไปสู่ข้อสรุปว่ามีการตกแต่งกำไรในงบการเงินเพื่อประโยชน์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อเพิ่มโบนัสประจำปีของผู้บริหาร เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากการกู้ยืม หรือเพื่อเพิ่มตัวเลขกำไรในระหว่างการออกหุ้นใหม่ เป็นต้น (เช่น Healy 1985; McNichols and Wilson 1988; Janes 1991; Rangan 1998; Teoh et al. 1998) การล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเช่น Enron และ WorldCom อันเนื่องมาจากการบิดเบือนผลประกอบการที่แท้จริงของบริษัทผ่านตัวเลขในงบการเงินยิ่งกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการตกแต่งตัวเลขกำไรอย่างไม่สุจริตและความสำคัญของการตรวจสอบเพื่อป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อผู้เกี่ยวข้อง งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการตกแต่งกำไรเพื่อผลประโยชน์ทางภาษี ผ่านการยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติม โดยศึกษาเฉพาะการยื่นแบบหักภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1 หรือ ภ.ง.ด. 3 ซึ่งเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนิติบุคคลที่จ่ายเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา สำหรับรายจ่าย 5 ประเภท คือ เงินเดือน และค่าแรง ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าขนส่ง ค่าเช่าและค่านายหน้า รายจ่ายผู้รับเป็นบุคคลธรรมดาเป็นรายจ่ายที่ตกแต่งได้ง่าย โดยทั่วไปบริษัทมักใช้สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน และนำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่าตามเกณฑ์ของกรมสรรพากรภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่มีการจ่ายเงิน อย่างไร ก็ตาม ในกรณีที่ผู้ประกอบการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ไม่ครบถ้วน กรรมสรรพากรอนุญาติให้มีการยื่นแบบดังกล่าวเพิ่มเติมโดยไม่จำกัดเวลา การอนุญาตให้ยื่นแบบเพื่อเติมได้นี้จึงเป็นช่องทางให้บริษัทสามารถปรับลดกำไรเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายภาษีได้ เนื่องจากอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่อยู่ระหว่าง1 ถึง 5 เป็นอัตราต่ำกว่าอัตราต่ำสุดของภาษีเงินที่ได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกินห้าล้านบาท ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างจากนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร และมีการประกอบกิจการเต็มรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2547 โดยแบ่งนิติบุคคลเป็น 6 กลุ่มตามระดับกำไรสุทธิคือ กลุ่มที่กำไรหรือขาดทุนน้อยกว่า 1 ล้านบาท กำไรหรือขาดทุนเกินกว่า 3 ล้านบาท โดยเลือกสุ่มกลุ่มละ 40 ตัวอย่างและศึกษาการยื่นเพิ่มเติมแบบ ภ.ง.ด. 1 หรือ 3 ของรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2547 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2547 จนถึงเดือนธนวาคม พ.ศ.2548 ทั้งจำนวนรายและจำนวนครั้งที่ยื่นเพิ่มเติม โดยมีสมมติฐานว่าหากบริษัทเลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด. 1 และ3 เพิ่มเติมเพื่อตกแต่งกำไรเพื่อลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว บริษัทที่มีกำไรย่อมมีการยื่นแบบเพิ่มเติมมากกว่าบริษัทที่ขาดทุน ผลการวิเคราะห์จำนวนบริษัทที่ยื่นแบบเพื่อเติมและความถี่ในการยื่นแบบเพิ่มเติม แสดงให้เห็นว่า บริษัทที่มีกำไรมีการยื่นแบบเพิ่มเติมมากว่าบริษัทที่ขาดทุน นอกจากนี้พบว่าความถี่ในการยื่นแบบเพิ่มเติมสัมพันธ์กับระดับกำไรสุทธิกล่าวคือ นิติบุคคลที่มีกำไรน้อยกว่า และการยื่นแบบเพิ่มเติมมากกว่าบริษัทที่มีกำไรน้อยกว่า และการยื่นแบบเพิ่มเติมจะกระจุกตัวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ.2547 ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2548 ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ปิดรอบระยะเวลาบัญชี ณ สิ้นเดือนธันวาคม การเปรียบเทียบสัดส่วนของนิติบุคคลที่ยื่นภาษีหัก ร ที่จ่ายเพิ่มเติมในกลุ่มกำไรและขาดทุน ชี้ให้เห็นว่านิติบุคคลที่มีกำไรมีการยื่นแบบเพิ่มเติมในสัดส่วนที่สูงกว่านิติบุคคลที่ขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นิติบุคคลที่มีกำไรและยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพิ่มเติมมีรายจ่ายค่าขนส่งและค่านายหน้าสูงกว่านิติบุคคล โดยเลือกสร้างรายจ่ายค่าขนส่งและค่านายหน้า ซึ่งมีส่วนในการสร้างรายจ่ายเท็จน้อยกว่ารายจ่ายประเภทอื่น และค่าขนส่งมีอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายต่ำกว่าจ่ายประเภทอื่นด้วย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาชีพบัญชี
ปีที่ 2
ฉบับที่ 5
หน้าที่ 12 - 28
ปีพิมพ์ 2549
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-8293
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)