รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การกับกำดูแลกับธุรกิจครอบครัว : ใครว่าไม่สำคัญ
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.สังเวียน อินทรวิชัย
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การกำกับดูแลกิจการ
2.ธุรกิจครอบครัว
คำอธิบาย / บทคัดย่อ สภาพที่เป็นจริงและปัญหา พ่อ: “ลูกรัก พ่อมีข่าวดีสำหรับลูก พ่อได้ตัดสินใจที่จะปลดเกษียนในอีก 4 เดือน ก็อย่างที่พ่อบอกกับลูกตลอดมา ลูกเป็นผู้ซึ่งจะสืบทอดต่อจากพ่อในบานะเป็น CEO นอกจากนั้นลูกจะได้เป็นเจ้าของหุ้นถึง 75% และจะเป็นผู้ดูแลธุรกิจทั้งหมด” ลูก: “คุณพ่อครัย ด้วยความเคารพต่อพระคุณ ข้อเสนอของพ่อมันตลกนะครับ ขณะนี้คุณะพ่ออายุ 92 ปี และลูกอายุ 67 ปี ซึ่งจุดมุ่งหมายอย่างเดียวของลูกคือขอปลดเกษียน พร้อมกับภรรยาและไปพักผ่อนที่ต่างจังหวัดครับ” ประสบการณ์ของธุรกิจครอบครัวฝรั่งเศส <<เป็นพ่อก็ยาก เป็นลูกยิ่งลำบาก>> เรื่องเศร้านี้จบลงที่ว่าธุรกิจครอบครัวซึ่งดำเนินมานานถึง 70 ปี ถูกขายให้กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหย่แห่งหนึ่ง และบิดากับลูกชายก็ไม่พูดกันอีกเลย มีผู้เสนอแนะว่าเอสเอ็มอีและธุรกิจครอบครัวควรพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้หันมาพึ่งพา IT มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce โดยในเริ่มแรกคสรให้ความสนใจในลักษณะการค้าระหว่างองค์กรธุรกิจด้วยกัน (หรือ B-to-B) แล้วในระยะหลังจึงเป็นการค้า ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (หรือ B-to-C) การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในสังคมที่สลับซับซ้อนนี้เป็นงานหนัก และยิ่งยากขึ้น หากเป็นการทำธุรกิจครอบครัวที่ความขัดแย้งเกิดจากการแข่งขันกันระหว่างผู้เป็นบิดากับลูกชาย พี่ๆ น้องๆ และสมาชิกในครอบครัวอื่นๆ การแก้ปัญหานั้น สมาชิกครอบครัวต้องรับรู้ปัญหาด้วยความซื่อสัตย์และตามธรรมชาติของอารมณ์ และความต้องการทางอารมณ์มีความสำคัญกว่าตัวเลขกำไร << ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องกันว่าทางแก้ที่แท้จริงมีอยู่ทางเดียวคือ ก้าวไปสู่การจัดการแบบมืออาชีพเสียโดยเร็ว>> การสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยกำลังกาย กำลังใจ พรสวรรค์ และโชคอย่างมาก มีงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่าวิสาหกิจที่เริ่มใหม่จำนวนวมากต้องประสบความล้มเหลวภายใน 5 ปีแรก ในขณะที่ธุรกิจครอบครัวต้องเผชิญสิ่งที่ไม่คาดฝัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ การเสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วนของผู้ก่อตั้ง ผู้เป็นเจ้าของ และผู้สืบทอดงานต้องตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวและไม่ย่อท้อ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จทุกแห่งจึงเป็นสิ่งอัศจรรย์เล็กๆอย่างหนึ่ง <<ธุรกิจครอบครัวซึ่งได้สืบทอดมาจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งและยังคงเจริญรุ่งเรืองอยู่ ต้องถือว่าเป็นความสำเร็จที่สำคัญยิ่งกว่า>> สาเหตุที่อัตราการอยู่รอดของธุรกิจครอบครัวต่ำมีเหตุผลพอเข้าใจได้โดยทั่วไป งานวิจัยของต่างประเทศ รายงานว่าธุรกิจครอบครัวที่ยืนยงถึงรุ่นที่ 2 มีอัตราต่ำกว่า 30% และจากจำนวนนี้มีเพียง 10 % ที่จะอยู่รอด ถึงรุ่นที่ 3 จึงเป็นไปได้ว่าบริษัทครอบครัวขนาดใหญ่ของโลกคงได้ค้นพบสิ่งมหัศจรรย์อะไรใหม่ๆ ในทุกช่วงรุ่นแน่ๆ จึงสามารถอยู่ยงมาได้จนถึงวันนี้
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารนักบัญชี
ปีที่ 47
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 7 - 30
ปีพิมพ์ 2544
ชื่อสำนักพิมพ์ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6009
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)