รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise-Resource Planning-ERP) กับการบริหารความเสี่ยง
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารความเสี่ยง |
2. | การจัดองค์การ |
3. | การบริหารองค์การ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
1.1วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนี้ก็เพื่อสนองความต้องการพิจารณาปรับกระบวนการทำงานใหม่ทั่วองค์กร (Business Process/Re-design/Re-engineering) รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างการทำงาน (Working Structure) และโครงสร้างขององค์กร (Organization Structure) อย่างเหมาะสม ในหลายองค์กรของรัฐและเอกชนในปัจจุบัน เพราะความเข้าใจที่แตกต่างกันในเรื่องพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานที่มีผลต่อโครงสร้างขององค์กรในโดยภาพรวมจะมีส่วนสำคัญยิ่งต่อศักยภาพประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรในอนาคตเป็นอย่างมากเป็นการยากที่จะแก้ไข และในที่สุดองค์กรต้องเสียทรัพยากรจำนวนมากในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่/โครงสร้างใหม่ให้เหมาะสมต่อไป
บทความนี้...อาจนำไปใช้ได้กับการพิจารณาความเหมาะสมและประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์หรือการมีการใช้ รวมทั้งการพัฒนาโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
1.2 การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP) อย่างถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารงานใหม่ โดยคำนึงถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT/IS) และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System-MIS) โดยคำนึงถึงกระบวนการทำงานทั่วทั้งองค์กรและความสามารถในองค์กรรวมขององค์กร และบุคลากรรวมทั้งวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งเป็นการนำหลักการ 5M- Model^( 1)) มาประยุกต์ใช้พิจารณาเป็นรายงานการบริหารความเสี่ยงตามลักษณะปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงความเสียหายควบคู่กัยไปโดยสังเขป
1.3 การวางแผนบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP) ในภาพรวม มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารทรัพยากรขององค์กร ซึ่งเรียกๆ ว่า 〖ERP 〗^(2))เช่นเดียวกัน...แต่มีนัยและการอธิบายมี่แตกต่างกัน ตามมุมมองที่พิจารณาและความสใจในแต่ละบุคคล
1.4 ในการบริหารยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) มาใช้ เป็นความจำเป็นที่ต้องจัดทำเป็นระบบอย่างเข้าใจจริง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เพิ่มประสิทธิผล-ประสิทธิภาพในการทำงาน และการแข่งขัน เพื่อความอยู่รอดและเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
1.5โปรแกรมประยุกต์เพื่อการบริหารทรัพยากรขององค์กร (ERP) จึงต้องเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญในการปรับรูปแบบไปจนถึงปฏิรูปกระบวนการทำงานใหม่ทั่วทั้งองค์กร เพื่อสนองตอบเป้าหมายหลักๆ ขององค์กรที่มีขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
1.6 แต่...ความเข้าใจในกระบวนการทำงานทั่วทั้งองค์กรตามลักษณะเดิมหรือระบบในปัจจุบันตามโครงสร้างขององค์กรที่เป็นอยู่และกำลังจะปรับเปลี่ยน/ปฏิรูปกระบวนการทำงานใหม่...ที่ต้องการปรับโครงสร้างฯ ใหม่ โดยใช้ ERP…ก็เป็นเรื่องที่มีความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมาก...ว่า...จะกำหนดขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงอย่างไรดี
1.7 จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่...หรือต้องเข้าใจความสัมพันธ์/กระบวนการทำงานของ Module ต่างๆ ในระบบโปรแกรมประยุกต์ ERP ที่จะต้องใช้อย่างเข้าใจจริง...ก่อนการพิจารณาโครงสร้างองค์กรใหม่...หรือ...จะพิจารณาไปพร้อมๆกันดี
คำถามที่ต้องมีการตอบที่ชัดเจนโดยวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายขึ้นจากทางเลือกและการตัดสินใจนั้นๆ
1.8 การว่าจ้างที่ปรึกษามาดำเนินการด้านนี้แทนบุคลากรภายในของพนักงานขององค์กร...เป็นสิ่งที่องค์กรแทบทุกแห่งปฏิบัติกันเป็นปกติอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นคำถามของบทความนี้...แต่ที่น่าสนใจมากกว่าก็คือ...ที่ปรึกษาภายนอกองค์กร(Outsource) ได้เข้าใจกระบวนการรวมทั้งการประสานงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามกรอบการปฏิบัติงานขององค์กรได้ดี และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรเพียวใด
1.9....ในฐานขององค์กรที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง...องค์กร ได้กำหนดขั้นตอนและกรอบในการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม เป็นธรรม วัดได้ ตรวจสอบได้ เพียงใด...จะใช้ประสบการณ์ขององค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงได้แล้วเพียงใด...พิจารณาจากหลักเกณฑ์อะไร...ในการใช้องค์กรอื่นๆเป็นตัวอย่าง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)