รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
โครงการวิจัยผู้ฟังวิทยุชุมชน (ภาคประชาชน)
|
ชื่อเรื่องรอง |
A Study of Community Radio Audiences (Public Sector)
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | เมธา เสรีนาวงศ์ |
2. | เสริมศิริ นิลคำ |
3. | ประยุทธ วรรณอุดม |
4. | นิษฐา หรุ่นเกษม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | วิทยุชุมชน |
2. | การกระจายเสียง |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | วิทยุชุมชน (ภาคประชาชน) -- วิจัย |
2. | วิถีชิวีตของผู้ฟัง |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาผู้ฟังของวิทยุชุมชน(ภาคประชาชน) ซึ่งหมายถึงสถานีวิทยุกระจายเสียงของท้องถิ่นที่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนุญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.2540โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ ศึกษาผู้ฟังวิทยุชุมชน (ภาคประชาชน) ใน6 ภูมิภาค
ผลการวิจัยในด้านลักษณะประชากร รูปแบบการเปิดรับและความพึงพอใจในการเปิดรับเนื้อหาจากสถานีวิทยุชุมชน พบว่าผู้ฟังวิทยุชุมชนภาคประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคจะเป็นกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุ ส่วนปัญหาสำคัญในการเปิดรับคือการับฟังไม่ชัดเจนและมีคลื่นแทรกหรือคลื่นทับกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ฟังส่วนใหญ่ชอบฟังรายการแบบสาระบันเทิง ชอบลีลาการดำเนินรายการแบบพื้นบ้านหรือใช้ภาษาท้องถิ่น ชองรับฟังเพลงลูกทุ่งหรือเพลงพื้นบ้าน นิยมรับฟังข่าวสารที่ใกล้ตัวและมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของผู้ฟัง
ผลการศึกษาความรู้ความเข้าใจของผุ้ฟังที่มีต่อบทบาทหน้าที่ ปรัชญาและหลักการดำเนินงานและการดำรงอยู่ของสถานีวิทยุชุมชน พบว่า ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของวิทยุชุมชนในระดับสูงโดยเฉพาะเป็นฐานะการสื่อสารเชื่อมโยงความสัมพนธ์ของคนในท้องถิ่น และเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานของศิลปินพื้นบ้านและเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานของศิลปินพื้นบ้านและอนุรักษ์สืบทอดวัฒนธรรมของชุมชน นอกจากนี้ผู้ฟังยังมีความรู้ความเข้าใจบาบาทของวิทยุชุมชนในระดับสูง โดยเฉพาะหน้าที่ในการให้ทั้งสาระและความบันเทิง การับแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชุมชน เป็นเครื่องมือการสื่อสาร ทำให้เกิดเครือข่ายของชาวบ้าน สร้างแนวร่วมกันในการทำกิจกรรมของชุมชน
ด้านความตระหนักของประชาชนต่อผลกระทบของวิทยุชุมชนด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต ฯลฯ ผลการศึกษาพบว่าผู้ฟังมีความตระหนักถึงผลกระทบของวิทยุชุมชนในระดับสูงโดยเฉพาะการที่วิทยุชุมชนทำให้สมาชิกในชุมชนสื่อสารกันมากขึ้น ช่วงผ่อนคลาย เป็นสื่อที่พึ่งพาได้ ช่วยสร้างสามัคคี ส่งเสริมจิตสำนึกสาธารณะและเป็นสื่อทางเลือกเพื่อการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชน
ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อผลกระทบของวิทยุชุมชนพบว่า ผู้ฟังส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วมด้านการก่อตั้ง วางแผน และกำหนดนโยบาย และส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้ในการเชิญชวนให้มีส่วนร่วมกิจกรรมของสถานีวิทยุชุมชน แต่ผู้ฟังส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมด้านการเป็นผู้เฝ้าฟังความเหมาะสมและความถูกต้องของเนื้อหามากที่สุด รองลงมาคือ เป็นผู้เฝ้าฟังความโปร่งใส ความเป็นกลางความเป็นะรรมของเนื้อหา ส่วนผู้ฟังที่ไม่เคยมีส่วนร่วมฯลฯ ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ดำเนินงานและบทบาทหน้าที่ของวิทยุชุมชน ไม่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการตรวจสอบและการประเมิน รวมทั้งการที่คลื่นสัญญาณวิทยุไม่ชัดเจนทำให้การรับฟังลดน้อยลงจนไม่ทราบข่าวสารการเชิญให้มีส่วนร่วม ตลอดจนคนในชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการก่อตั้งสถานีมาตั้งแต่ยุคแรกจึงทำให้ขาดผูกกับสถานี
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)