รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารกิจการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสระแก้ว
|
ชื่อเรื่องรอง |
Problems and solutions in developing the administration of senior boy scout under the office of basic education commission in Sa Kaeo Province
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การลูกเสือ |
2. | ลูกเสือ -- การบริหาร |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารกิจการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และเปรียบเทียบปัญหาการบริหาร จำแนกตามสถานภาพ วุฒิทางลูกเสือ และประสบการณ์การบริหารกิจการลูกเสือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้อำนวยการลูกเสือ โรงเรียนและผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จำนวน 395 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาการบริหารกิจการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสระแก้ว โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกตามด้านการบริหารดังนี้
1.1 ด้านการวางแผนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นการจัดส่งผู้กำกับและรองผู้กำกับไปฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นความรู้ระดับต่างๆ มีปัญหาการบริหารอยู่ในระัดับมาก
1.2 ด้านการจัดสรรทรัพยากร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นมีการแต่งตั้งผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ตามความรู้ความสามารถ ตรงตามโครงสร้างลูกเสือโรงเรียนมีปัญหาการบริหารอยู่ในระดับมาก
1.3 ด้านการกระตุ้นจูงใจในการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดซึ่งอยู่ในระดับมาก คือ การสร้างกิจกรรมจูงใจให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือด้วยความสมัครใจ
1.4 ด้านการประสานงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดซึ่งอยู่ในระดับมาก คือ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชน เกิดความเข้าใจอันดีต่อกิจการลูกเสือในโรงเรียน
1.5 ด้านการติดตามประเมินผลโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดซี่งอยู่ในระดับมาก คือ ผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ปฏิบัติการเก็บข้อมูลและประเมินผลในระหว่างการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ
2. ผลเปรียเทียบปัญหาการบริหารกิจการลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.1 ด้านสถานภาพแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดสรรทรัพยากรมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้อำนวยการลูกเสือโรงเรียนมีปัญหามากกว่าผู้กำกับและรองผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
2.2 ด้านวุฒิทางลูกเสือ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
2.3 ด้านประสบการณ์การบริหารกิจการลูกเสือ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)