รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ของการพยากรณ์อุปสงค์และการบริหารสินค้าคงคลัง
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.สถาพร โอภาสานนท์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การควบคุมสินค้าคงคลัง
2.สินค้าคงคลัง -- การบริหาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ เทคนิคการพยากรณ์อุปสงค์มีอยู่มากมายทังเทคนิคเชิงคุณภาพ ที่ต้องอาศัยดลุยพินิจที่มาจากประสบการณืและความรู้ของผู้พยากรณ์แต่ละคนเป็นสำคัญ และเทคนิคเชิงปริมาณซึ่งเป็นเทคนิคการพยากรณ์อุปสงค์ที่อาศัยยอดขายสินค้าในอดีตมาเป็นตัวพยากรณ์แนวโน้มอุปสงค์ในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องพึ่งพาแบบจำลองทางคณิต (Mathematical Models) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่างๆ เช่น เวลา ราคาสินค้า งบประมาณในการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เป็นต้น ตัวอย่างของเทคนิคการพยากรณ์อุปสงค์ในเชิงปริมาณได้แก่ ตัวแบบอนุกรมเวลา (Time Series) ตัวแบบสทการถดถอย (Regression Models) และแบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) การเลือกใช้เทคนิคพยากรณ์อุปสงค์แบบไหนขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะของข้อมูลที่มีหากต้องการพยากรณ์อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่งออกใหม่หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีข้อมูลยอดขายในอดีต ผู้พยากรณ์จึงเป็นต้องพึ่งพาเทคนิคการพยากรณ์เชิงคุรภาพ แต่หากเป็นสินค้าที่มีการจัดเก็บข้อมูลยอดขายในอดีต เทคนิคเชิงปริมาณมักจะเป็นตัวเลือกแรกในการใช้พยากรณ์อุปสงค์ ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมีการใช้เทคนิคเชิงคุณภาพ เช่น วิธี Manager’s Opinion วิธี Jury of Executives หรือวิธี Delphi ทำการตรวจทานอีกรอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุด ผู้พยากรณ์ควรตระหนักไว้เสมอว่าการพยากรณ์อุปสงค์มักให้ค่าที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเสมอ อยู่ที่ความคลาดเคลื่อนนั้นจะมากหรือน้อยเพียงใด นอกจากนี้ การใช้เทคนิคต่างกันก็จะให้ผลการพยากรณ์ที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น หากเป็นไปได้ ผู้พยากรณ์ควรทดลองพยากรณ์อุปสงค์โดยใช้หลายๆวิธี แล้วจึงวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อน (Forecast Error) ที่เกิดจากแต่ละวิธี เพื่อตรวจสอบว่าเทคนิคที่ใช้ในการพยากรณ์อุปสงค์แต่ละเทคนิคมีความแม่นยำในการพยากรณ์ข้อมูลนั้นๆ มากน้อยเพียงไร โดยทั่วไปแล้ว เมื่อทราบค่าความคลาดเคลื่อนของแต่ละวิธีที่ทดลองใช้แล้ว ผู้พยากรณ์อาจเลือกที่จะนำค่าที่พยากรณ์ได้จากวิธีที่มีค่าคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดมาใช้ในการวางแผนต่อไป
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบริหารธุรกิจ
ปีที่ 34
ฉบับที่ 129
หน้าที่ 1 - 5
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-233x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)