รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ยามาเน่ |
2. | วิจัย--การประมวลผลข้อมูล |
3. | วิจัย--การวิเคราะห์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
นักศึกษาไทยนิยมใช้ "สูตรของยามาเน่" ในการคำนวณหาขนาดของตัวอย่างทั้งที่มาตรวัดที่นักศึกษาใช้ไม่ใช่มาตรวัดแบบที่มีแค่สองตัวเลือก ในการสร้างสูตรของยามาเน่ที่นักศึกษาไทยชอบใช้ยามาเร่เลือกแปลงมาจากสูตรในการหาขนาดของตัวอย่างที่มาตรวัดมีสองตัวเลือกหรือแบบสัดส่้วน ไม่ใช่สูตรที่ใช้กับตัวแปรที่มีมาตรวัดแบบต่อเนื่องทั้งนี้ค่าความแปรปรวนที่มากที่สุดของตัวอย่างกรณีของสัดส่วนสามารถแทนค่าด้วยค่า 0.25 ซึ่งต่างจากกรณีที่ตัวแปรมีมาตรวัดแบบต่อเนื่องที่ไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าค่าความแปรปรวนที่มากที่สุดควรเป็นเท่าใด ยามาเน่เลือกแปลงสูตรในการหาขนาดของตัวอย่างกรณีสัดส่วนโดยสมมติให้ประชากรมีขนาดเล็ก และเลือกที่จะแทนค่าความแปรปรวนด้วย0.25 ซึ่งถือว่าให้ค่าความแปรปรวนที่สูงสุดของกรณีสัดส่วนแล้ว ดังนั้นภายใต้สูตรของยามาเน่ขนาดของตัวอย่างจึงขึ้นอยู่กับขนาดของประชากรและค่าความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง โดยดูเหมือนกับว่าค่าความแปรปรวนของตัวอย่างหลุดหายไปจากสูตรของยามาเน่ อันที่จริงถ้ามาตรวัดที่นักศึกษาใช้เป็นแบบที่มีแค่สองตัวเลือกการจะใช้สูตรของยามาเน่ก็ไม่ได้ผิดอะไร แต่งานวิจัยของนักศึกษาปริญญาโทส่วนใหญ่ซึ่งวัดตัวแปรที่ไม่สามารถสังเกตได้นิยมใช้มาตรวัดลิเคิร์ทแบบห้าตัวเลือกซึ่งในทางการตลาดอนุโลมให้มาตรวัดนี้เป็นตัวแปรแบบต่อเนื่องหรือแบบเมตริก สูตรของยามาเน่ที่แปลงมาจากกรณีสัดส่วนจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ ดังนั้นหากต้องการหาขนาดตัวอย่างแบบใช้สูตรเมื่อมีการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มจึงต้องกลับไปใช่สูตรที่เหมาะสมกับตัวแปรแบบต่อเนื่องจึงจะถูกต้อง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)