รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
องค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวหลักธรรมพุืทธศาสนา
|
ชื่อเรื่องรอง |
The learning organization based upon dhamma of buddhism
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ทรงกลด เจริญพร |
2. | เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม |
3. | ภารดี อนันต์นาวี |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | องค์กรแห่งการเรียนรู้ |
2. | องค์การแห่งการเรียนรู้ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอองค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวหลักธรรมพุืทธศาสนาโดยใช้กรอบแนวคิดของเซนเก้ (Senge) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างรูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักธรรมพุืทธศาสนาและมีความรู้ในเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง 5 คนแรก และอีก 15 คน จากการคัดเลือกแบบสโนว์บอลโดยใช้เทคนิคเดลฟาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ กลุ่มตัวอย่างที่ใ้ห้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง ได้แก่ ผู้บริหารบริษัทที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จำนวน 40 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ ตามแนวหลักธรรมพุืทธศาสนาตามแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญในวินัยด้านความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) มีหลักธรรมสำคัญ 16 หลักธรรม คือ ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฐิ 2 ธรรมมีอุปการะมาก 2 ไตรสิกขา ปัญญา 3 ฆราวาสธรรม 4 พรหมวิหาร 4 สัมมัปปธาน 4 สติปัฎฐาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 ทิศ 6 โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7 กัลยาณมิตรธรรม 7 และอริยมรรคมีองค์ 8 ส่วนองค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวหลักธรรมพุืทธศาสนาในวินัยด้านรูปแบบวิธีคิด และมุมมองที่เปิดกว้าง (Mental model) มีหลักธรรมสำคัญ 11 หลักธรรม คือ โยนิโสมนสิการ ปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฐิ 2 ไตรสิกขา ปัญญา 3 อธิปไตย 3 พรหมวิหาร 4 วุฒิธรรม 4 สติปัฏฐาน 4 อคติ 4 อธิษฐานธรรม 4 และกาลามสูตรและองค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวหลักธรรมพุทธศาสนาในวินัยด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) มีหลักธรรมสำคัญ 8 หลักธรรม คือ สุจริต 3 เทศนาวิธี 4 พรหมวิหาร 4 วุฒิธรรม 4 สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 กัลยาณมิตรธรรม 7 และอปริหานิยธรรม 7 นอกจากนี้องค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวหลักธรรมพุทธศาสนาในวินัยด้านการเรียนรู้เป็นทีม (Team learning) มีหลักธรรมสำคัญ 8 หลักธรรม คือ ฆราวาสธรรม 4 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 4 สาราณียธรรม 6 กัลยาณมิตรธรรม 7 สัปปุริสธรรม 7 อปริหานิยธรรม 7 และนาถกรณธรรม 10 และท้ายที่สุดองค์การแห่งการเรียนรู้ตามแนวหลักธรรมพุืทธศาสนาในด้านการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) มีหลักธรรมสำคัญ 6 หลักธรรม คือ โยนิโสมนสิการ ไตรลักษณ์ อริยสัจจ์ 4 สัปปุริสธรรม 7 กาลามสูตรและ ปฏิจสมุปบาท ส่วนแนวคิดของผู้บริหารบริษัทที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ พบว่า หลักธรรมสำคัญตามหลักการทั้ง 5 ประกอบด้วย หลักการที่ 1 ความรอบรู้แห่งตน ได้แก่ อิทธิบาท 4 โพชฌงค์ 7 ปัญญา 3 ธรรมมีอุปการะมาก 2 อริยมรรคมีองค์ 8 หลักการที่ 2 รูปแบบวิธีคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ได้แก่ ปัญญา 3 ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฎฐิ 2 โยนิโสมนสิการ วุฒิธรรม 4 พรหมวิหาร 4 หลักการที่ 3 การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ได้แก่ สาราณียธรรม 6 พรหมวิหาร 4 อปริหานิยธรรม 7 สุจริต 3 กัลยาณมิตรธรรม 7 หลักการที่ 4 การเรียนรู้เป็นทีม ได้แก่ ฆราวาสธรรม 4 สังคหวัตถุ 4 สาราณียธรรม 6 อปริหานิยธรรม 7 พรหมวิหาร 4 หลักการที่ 5 การคิดเชิงระบบ ได้แก่ โยนิโสมนสิการ สัปปุริสธรรม 7 กาลามสูตร อริยสัจจ์ 4 ปฏิจสมุปบาท
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)