รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การวางแผนภาษีอากร
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นกิจการประเภทใด มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจที่ต้องคำนึงถึงคือ 4 M’s อันได้แก่ บุคลากร (Man) เงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material) และการจัดการ (Management) รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมภายนอก (Environment) ที่จะกระทบต่อกิจการ อาทิ ลูกค้าหรือตลาด (Market) กฎหมาย สังคม ทั้งนี้ วัตถุประสงค์สำคัญของการบริหารธุรกิจคือ มุ่งหมายที่จะให้กิจการประสบผลสำเร็โดยได้รับกำไรสูงสุด และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด การที่จะทำให้กิจการบรรลุวัตถประสงค์ดังกล่าว นอกจากปัจจัยทางธุรกิจข้างต้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงก็คือ ปัจจัยทางภาษีอากร เพราะภาษีอากรเป็นภาระหรือค่าใช้จ่ายของกิจการที่ต้องปฏิบัติ และชำระให้ถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายภาษีอากรแต่ละประเภท มิฉะนั้นอาจต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม รวมทั้งเสียเวลาและโอกาสโดยไม่จำเป็นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การเสียภาษีอากรโดยถูกต้องครบถ้วนเพียงอย่างเดียว น่าจะยังไม่เพียงพอสำหรับการบริหารธุรกิจที่ชาญฉลาด หากแต่ต้องเสียภาษีอากรให้น้อยที่สุด โดยตัดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเสียออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาศัย การหลีกเลี่ยงภาษีอากร (Tax Evasion) หรือโดยเจตนาทุจริตที่จะไม่เสียภาษี ซึ่งการที่จะกระทำหรือปฏิบัติให้ได้เช่นนั้น ผู้ประกอบการต้องอาศัยเทคนิคในการดำเนินการทางภาษีอากรที่เรียกว่า การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) เพื่อขจัดปัญหาการเสียภาษีอากรเกินกส่าเหตุ และสามารถขจัดข้อโต้แย้งทางภาษีอากรกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกกรณี
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)