รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การเปิดเผยข้อมูลในตลาดทุน : ปัญหาและข้อเสนอแนะ
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ตลาดทุน |
2. | การลงทุนในหลักทรัพย์ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “สำนักงาน ก.ล.ต.” มีภารกิจในการกำกับและพัฒนาตลาดทุนของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม โปร่งใส และน่าเชื่อถือ การที่จะบรรลุภารกิจดังกล่าวได้ กลไลหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ สำนักงาน ก.ล.ต. จะต้องกำกับดูแลและพัฒนา คือระบบการเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน และเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน
การเปิดเผยข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะที่เป็น free flow คือ ผู้ลงทุนควรมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ข้อมูลที่เปิดเผยต้องมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ นอกจากนี้ควรมีทั้งข้อมูลที่เป็น financial และ non-financialที่สะท้อนถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของบริษัทหนึ่ง เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ และควบคุมดูแลผู้บริหาร ทั้งในเรื่อง risk management, financial management และ business strategy ผู้ลงทุนสามารถใช้ข้อมูลที่เปิดเผยในการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นของบริษัท ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะช่วยให้ราคาหุ้นสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารปัจจับัน ดังนั้น การที่ผู้ลงทุนขายหุ้นบริษัทจำนวนมาก จนทำให้ราคาหุ้นลดลงอาจเป็นปัจจัยหนึ่งชี้ว่า ผู้ลงทุนเห็นว่า ผู้บริหารชุดปัจจุบันไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและหากยังคงให้ผู้บริหารชุดดังกล่าวบริหารงานต่อไป อาจทำให้เป้าหมายของบริษัทที่ต้องดำเนินงานเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นในระยะยาวไม่สามารถบรรลุได้
ข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์มในปัจจุบันกำหนดให้ต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งที่เป็น financial และ non- financial โดยบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยตามรายการขั้นต่ำในรูปแบบและตามระยะเวลาที่ สำนักงาน ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“ตลาดหลักทรัพย์ ฯ”) กำหนด กล่าวคือ ในด้านข้อมูลทางการเงิน บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ต้องจัดส่งงบการเงินทุกสิ้นไตรมาส และสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยงบการเงินดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และผ่านการตรวจสอบ/สอบทาน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สำหรับข้อมูลที่เป็น nonfinancial บริษัทที่ออกหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูลตามรายการขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในรายงานการเปิดเผยข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ที่ยื่นต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อเปิดเผยต่อประชาชน และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ในกรณีที่สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่า เอกสารหรือรายงานดังกล่าวมีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือในกรณีอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือต่อการตัดสินใจลงทุน สำนักงาน ก.ล.ต. ก็มีอำนาจสั่งการตามมาตรา 58 ให้บริษัทจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติม หรือใช้ชี้แจงเพิ่มเติม หรือให้จัดให้มีผู้ตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ และในกรณีที่บริษัทฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว บริษัทต้องระวางโทษตามมาตรา 274 คือ โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 3,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)