รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
วัฒนธรรมองค์การ: ควรเลือกให้เหมาะสม
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ประเทศต่างๆ จะมีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง องค์การก็เช่นเดียวกัน จะมีวัฒนธรรมในการมุ่งสร้างคุณภาพ วัฒนธรรมในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์การบางอย่างก็ทำให้เกิดจุดอ่อนแก่องค์การนั้นๆได้ เช่น วัฒนธรรมแบบอนุรักษ์นิยม วัฒนธรรมการทำงานแบบมุ่งให้บุคลากรมีการแข่งขันกันมากเกินไป จนองค์การเกดความระส่ำระส่าย
จากการศึกษาของ Daniel R. Denison (1990) ในปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การและประสิทธิผลขององค์การ ก็ได้พบว่าวัฒนธรรมองค์การจะส่งผลต่อประสิทธิผล (Effectiveness) ขององค์การเป็นอย่างมาก โดยในส่วนแรกคือ มิติของการก่อให้เกิดการผูกพัน (Involvement) และพนักงานมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อองค์กร ส่วนที่ 2 คือ มิติของการปรับตัว (Adaptability) ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การ ส่วนที่ 3 คือ การประพฤติปฏิบัติที่สม่ำเสมอ (Consistency) จึงทำให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและสามารถคาดหมายพฤติกรรมต่างๆที่จะเดขึ้นได้ แต่องค์การจะต้องมีส่วนที่ 4 ด้วยคือ ภารกิจ (และวิสัยทัศน์) ขององค์การจึงทำให้องค์การมีกรอบและทิศทางการดำเนินที่พึงประสงค์ ปัจจัยทั้ง 4 ส่วนนี้ จะทำให้องค์การสามารถบรรลุสู่ประสิทธิผล (Effectiveness) ได้
ดังนั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมขององค์การ โดยการประเมินสภาพของวัฒนธรรมองค์การที่เป็นอยู่ และประเมินความเหมาะสมหรือคุณค่าที่มีต่อองค์การ เพื่อจะได้สร้างวัฒนธรรมองค์การให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ อย่างที่สายการบินเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ ที่ผู้บริหารระดับสูงคือ เฮิร์บ เคลลี่เฮอร์ ประธานบริหารของเซาท์เวสต์ ได้สร้างวัฒนธรรมขององค์การที่ให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข ความสนุกจนคนในเซาท์เวสต์ท้าทายว่า แม้บริษัทอื่นจะลอกเลียนสูตรการทำธุรกิจของเซาท์เวสต์ได้ แต่อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่า เพราะวัฒนธรรมองค์การนั้น แตกต่างกันและไม่อาจลอกเลียนแบบวัฒนธรรมการทำงานของเซาท์เวสต์ได้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)